
Biz Focus Magazine เป็นนิตยสารรายเดือนที่ร่วมส่งเสริมนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งในและต่างประเทศ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างภาครัฐ - เอกชน และนักลงทุน
+(662) 399-1388
editor@bizfocusmagazine.com
ทาทา สตีล ชูความพร้อมความปลอดภัยโรงงาน ย้ำเหตุระเบิด รง. นิคมมาบตาพุด
ปลอดสารเคมีรั่วไหล ไร้ผู้บาดเจ็บรุนแรง เตรียมเชิญหน่วยงานรัฐตรวจสอบความพร้อม
บริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม จำกัด หนึ่งในบริษัทผลิตเหล็กในเครือ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ขานรับมาตรการแก้วิกฤตโรงงานจากหน่วยงานรัฐ พร้อมเปิดเผยสถานการณ์หลังเหตุการณ์วิกฤตเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ทั้งนี้ ยังพร้อมให้หน่วยงานรัฐ สื่อมวลชน และชุมชนโดยรอบเข้าตรวจสอบโรงงานเพื่อเรียกความมั่นใจของคนในชุมชนกลับมาอีกครั้ง
นายพรชัย ตั้งวรกุลชัย – ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม จำกัด เผยว่า บริษัทได้เร่งแก้ปัญหาวิกฤตเตาหลอมเหล็กระเบิดที่ผ่านมา เพื่อเรียกความมั่นใจของชุมชนโดยรอบ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติตามมาตรการแก้ไขตามมาตรฐานโรงงานอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ โรงงานได้ปฏิบัติตามมาตรการของการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในการจัดการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินแล้ว อันได้แก่ การระงับยับยั้งและควบคุมเหตุการณ์ผิดปกติ หรือภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเต็มกำลังความสามารถ การหยุดกิจกรรมกระบวนการผลิตบริเวณเตาหลอมไฟฟ้า ตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กลับมาดำเนินการผลิตได้อีกครั้ง การปรับปรุงระบบแจ้งเหตุและรายงานสถานการณ์ ไปยังศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมภายคุณภาพภายในเวลาที่กำหนด การจัดตั้งทีมสอบวิเคราะห์สาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจัดทำมาตรการด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ โดยได้รับการรับรองรายงานดังกล่าวจากหน่วยงานที่ให้การรับรองความปลอดภัย (Third Party) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจัดทำกำหนดการซักซ้อมมาตรการแก้ไขภาวะฉุกเฉินและควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นแนวทางการจัดการในอนาคต
นายพรชัย กล่าวเพิ่มว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สิน เช่น หลังคา ผนังอาคารโรงงานในส่วนการผลิตเหล็กแท่งบางส่วน และสิ่งสำคัญคือส่งผลด้านร่างกาย มีพนักงานโรงงานได้รับบาดเจ็บ 4 คน โดยบริษัทให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บสูงสุดโดยการเร่งนำส่งโรงพยาบาลเอกชนของจังหวัดระยอง ปัจจุบันผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน มีอาการปลอดภัย สามารถกลับบ้านได้แล้ว ส่วนอีก 1 คนอยู่ในระยะพักฟื้นจากแผลไฟไหม้และการบาดเจ็บที่แขนอยู่ที่โรงพยาบาล ทั้งนี้ พนักงานที่ได้รับบาดเจ็บได้รับสิทธิการลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างตามปกติ และบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมด นอกจากนี้ ยังได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกที่ให้การรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยแล้วว่าไม่พบสารเคมีรั่วไหล อันจะส่งกระทบต่อชุมชน อย่างไรก็ตาม บริษัทรู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความกังวลใจต่อชุมชน และคาดหวังให้เหตุการดังกล่าวเป็นบทเรียนสำคัญในการป้องกันและพัฒนาการดำเนินงานในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ลำดับต่อไป บริษัทเตรียมเรียนเชิญหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันของโรงงาน ตามมาตรฐานที่สอดคล้องกับการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง และมาตรฐานโรงงานในระดับสากล เพื่อตอกย้ำจุดยืนการเป็นโรงงานที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อชุมชน นายพรชัย กล่าวสรุป
กนอ.เผยสถานการณ์อุทกภัย 3 นิคมฯ อยุธยายังอยู่ในระดับปกติ พร้อมสั่งศูนย์เตือนภัยรายงานผปก.แบบเรียลไทม์
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 3 นิคมฯ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค) ชี้ทุกแห่งระดับน้ำ และปริมาณน้ำไหลผ่านยังอยู่ในระดับปกติ ทั้งนี้ ยังได้เผยถึงมาตรการของการป้องกันอุทกภัย อาทิ การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ การสร้างคันดินป้องกันน้ำท่วม การรายงานจากศูนย์เตือนภัย รวมทั้งแผนบริหารจัดการน้ำ ซึ่งทุกแห่งได้เตรียมการไว้อย่างเต็มที่
กรอ. เผยยอด ร.ง.4 เขตอีอีซี เดือนมิถุนายน โตเฉียด 250% พร้อมโชว์ยอดจัดตั้ง – ขยายโรงงานครึ่งปี เอสเอ็มอี ลงทุนคึกคัก!!
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เผยยอดการขอใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงาน (ร.ง.4) เดือนมกราคม - มิถุนายน 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,504 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 168,523.69 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนมากที่สุดในครึ่งปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ นอกจากนี้ ในส่วนของการจดประกอบและขยายกิจการของกลุ่ม SMEs พบว่า กลุ่มที่ขยายกิจการมีการลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม 13,523 ล้านบาท เป็น 14,361 ล้านบาท หรือประมาณ 6.2% และในส่วนของการขอใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี มูลค่าการลงทุนเติบโตขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2,820 ล้านบาท เป็น 9,863.24 ล้านบาท หรือเกือบ 250%
กรอ. ชู 4 มาตรการคุมโรงงานกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ 148 โรงทั่วไทย เผย “มือถือ” “แผงวงจร” “คอมพิวเตอร์” คว้าแชมป์ปริมาณสูงสุด
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) โชว์ 4 มาตรการเพื่อคุมเข้มการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. มาตรการพิจารณาอนุญาตโรงงานเพื่อประกอบกิจการกำจัดและบำบัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2. มาตรการออกใบอนุญาตเพื่อการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ 3. มาตรการยกระดับความปลอดภัยและศักยภาพของเสีย และ 4. มาตรการรับมือด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ปัจจุบันมีโรงงานที่นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนทั้งสิ้น 7 โรงงาน จากจำนวนทั้งหมด 148 โรงงานที่มีการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยปริมาณนำเข้าประมาณ 53,000 ตัน ส่วนใหญ่ขยะดังกล่าวกว่า 98% ประกอบด้วย 1. โทรศัพท์มือถือ 2. แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และ 3. คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดี กรอ.ยังได้ลงพื้นที่ตรวจโรงงาน มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นโรงงานรับกำจัดบำบัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ และได้นำนวัตกรรมรถโมบายล์ที่ใช้ในการบดย่อยและกำจัดมลพิษจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้เป็นแห่งแรกของประเทศ และตั้งแต่ประกอบกิจการไม่เคยได้รับข้อร้องเรียนจากชุมชนรอบข้าง
กรอ. เดินเครื่องโรงงานทั่วไทยสู่ “สมาร์ทแฟคตอรี่” พร้อมป้อน 5 มาตรการส่งเสริม เติมระบบดิจิทัล – พลังงาน – สิ่งแวดล้อม หนุนความเชื่อมั่นสู่ภาคอุตฯ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เร่งยกระดับโรงงานไทยให้ก้าวสู่ Smart Factory โดยในช่วงครึ่งปีหลัง 2561-2562 ได้จัดมาตรการส่งเสริม 5 ด้าน ได้แก่ 1.การลดขั้นตอน ลดระยะเวลาการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ 2. การผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน และส่วนสนับสนุนเพื่อขยายการลงทุน 3.การสนับสนุนระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ 4.การส่งเสริมการจัดการด้านพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม 5.การจัดทำระบบกำกับดูแล ติดตาม และควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ คาดว่าภายใน 5 ปี จะสามารถยกระดับโรงงานให้ก้าวสู่สมาร์ท แฟคตอรี่ได้ กว่า 1,000 โรงงาน