
Biz Focus Magazine เป็นนิตยสารรายเดือนที่ร่วมส่งเสริมนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งในและต่างประเทศ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างภาครัฐ - เอกชน และนักลงทุน
+(662) 399-1388
editor@bizfocusmagazine.com
พรินซิเพิล เพิ่มทุนกอง ‘พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม’ เป็น 3 หมื่นล้าน โชว์ผลงานจ่ายเงินปันผลทุกไตรมาส 29 ครั้ง รวม 5.66 บาทต่อหน่วย ประเมินทิศทางลงทุนครึ่งปีหลังไม่แน่นอนจากแนวโน้มเศรษฐกิจผันผวน แนะแบ่งพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์กลุ่ม Property Fund & REITs
บลจ.พรินซิเพิล มองทิศทางการลงทุนครึ่งปีหลัง ยังมีความไม่แน่นอนจากแนวโน้มเศรษฐกิจผันผวน หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการเจรจาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีน ซึ่งคาดว่าจะยังไม่มีข้อสรุปในเร็ววันนี้ แนะกระจายพอร์ตลงทุนบางส่วนในสินทรัพย์กลุ่ม Property Fund และ REITs ขณะที่กองทุนเปิด ‘พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม’ ได้รับอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3 หมื่นล้านบาท จากเดิม 1.5 หมื่นล้านบาท รองรับนักลงทุนที่สนใจ โชว์ผลงานกองทุนฯ ย้อนหลังให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปีนับตั้งแต่จัดตั้ง และมีผลการดำเนินงานรายปีเป็นบวกตลอด 5 ปีที่ผ่านมา รวมถึงจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส (รวม 29 ครั้ง) รวม 5.66 บาทต่อหน่วย ล่าสุดประกาศจ่ายเงินปันผลหน่วยละ 0.25 บาท แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ลงทุนก่อนวันที่ 28 มิถุนายน 2562
นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด (“บลจ.พรินซิเพิล”) เปิดเผยว่า บลจ.พรินซิเพิล ประเมินทิศทางการลงทุนช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ยังมีความไม่แน่นอนจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ผันผวน โดยมีปัจจัยมาจากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC ครั้งล่าสุด ที่แม้ว่ามีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาดการณ์ที่ระดับ 2.25 - 2.50% ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 1 อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการ FOMC ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนทางภาคเศรษฐกิจและภาคการเงิน โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานธนาคารกลางสหรัฐของเซนต์หลุยส์ แสดงมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ที่เหมาะสมว่าควรอยู่ในระดับต่ำกว่าปัจจุบัน 0.25% จึงเพิ่มความเป็นไปได้ต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ในอนาคต
ส่วนประเด็นความขัดแย้งจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามต่อ ภายหลังการพบกันของสองผู้นำ ‘นายโดนัล ทรัมป์’ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ’นายสีจิ้น ผิง’ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการประชุม G20 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 28-29 มิถุนายนา 2562 ออกมาดีตามคาด โดยทั้งสองฝ่ายยอมกลับเข้ามาสู่ขั้นกระบวนการเจรจาการค้าครั้งที่ 12 อีกครั้ง ภายหลังที่ยุติการเจรจาไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระหว่างการเจรจาครั้งนี้ สหรัฐฯ ยังคงใช้วงเงินภาษีเดิมที่ระดับ 25% บนวงเงิน 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สหรัฐฯ ผ่อนปรนกฎให้บริษัทในสหรัฐสามารถกลับมาทำธุรกิจกับ Huawei จีนกลับมานำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ และจีนแถลงเปิดประเทศมากขึ้นโดยจะอนุญาตให้บริษัทในสหรัฐและนานาชาติสามารถถือครองหุ้นส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้เรามีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมและผลลัพธ์การประชุมครั้งนี้ แต่ยังคงต้องติดตามผลการเจรจารอบใหม่ว่าจะทำได้จริงหรือไม่
ด้วยปัจจัยดังกล่าว ประเมินว่าจะส่งผลดีต่อการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีลักษณะเป็น Yield Play Assets หรือ สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนจากการจ่ายเงินปันผล ซึ่งรวมถึงสินทรัพย์ในกลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) และกองรีทส์ (REITs) โดยภาพรวมอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกที่อยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยดึงดูดกลุ่มนักลงทุนหลายกลุ่มที่มุ่งแสวงหาผลตอบแทน (Search for Yield) เข้าลงทุนใน Property Fund และ REITs ที่จ่ายเงินปันผลจากกระแสเงินสดแก่นักลงทุนในอัตราเงินปันผลเฉลี่ยในปัจจุบัน 4.6%–5.4% ต่อปี เพื่อช่วยลดผลกระทบเชิงลบในช่วงที่ตลาดลงทุนเกิดความผันผวน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. พรินซิเพิล กล่าวว่า จากมุมมองดังกล่าวจึงแนะนำทยอยลงทุนในกองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม หรือ Principal Property Income Fund (PRINCIPAL iPROP) ในสัดส่วน 10 – 20% ของพอร์ตลงทุนรวม เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนในภาวะที่ตลาดการเงินโลกยังไม่ชัดเจน โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (PRINCIPAL iPROP) ได้รับอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3 หมื่นล้านบาท จากเดิม 1.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากกองทุนมีขนาดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและเพื่อรองรับนักลงทุนสามารถเข้าซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
ทั้งนี้ กองทุน PRINCIPAL iPROP มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้กลยุทธ์คัดเลือกสินทรัพย์รายตัวในลักษณะ Bottom-up โดยเฉพาะกลุ่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีเครือข่ายผู้จัดการกองทุนของ บลจ. พรินซิเพิล เน้นการศึกษาเชิงลึกเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี มีสภาพคล่องเพียงพอ และยังคงซื้อขายในราคาที่เหมาะสม
ขณะที่ผลการดำเนินงานกองทุนฯ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีมาโดยตลอด เฉลี่ยประมาณ 10% ต่อปีนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนฯ และมีประวัติจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2555 จนถึงปัจจุบัน โดยจ่ายเงินปันผลแล้วทั้งสิ้น 29 ครั้ง รวม 5.66 บาทต่อหน่วย โดยในครั้งนี้กองทุนได้ประกาศจ่ายเงินปันผลกองทุน PRINCIPAL iPROP-D ชนิดจ่ายเงินปันผล และรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติสำหรับกองทุน PRINCIPAL iPROP-R ชนิดขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ ในอัตราหน่วยละ 0.25 บาท (สำหรับงวดบัญชี 31 พฤษภาคม 2562) แก่ผู้ที่ถือหน่วยลงทุนกองทุนดังกล่าว ก่อนวันที่ 28 มิถุนายน 2562
สำหรับนักลงทุนที่สนใจสามารถขอหนังสือชี้ชวนและรายละเอียดกองทุนได้ที่ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือผู้สนับสนุนการขายฯ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด โทรศัพท์ 0 2686 9595 www.principal.th
Fund Performance (31 May 2019) |
|
||||||
3M |
6M |
1Y |
3Y |
5Y |
ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน |
Inception Date |
|
Principal iProp-A |
5.04% |
9.98% |
13.18% |
9.81% |
9.98% |
11.04% |
26 Jun 2012 |
Principal iProp-C |
5.07% |
10.02% |
13.30% |
10.02% |
n/a |
10.18% |
Thu 3 Jul 2014 |
Principal iProp-D |
5.00% |
9.96% |
13.23% |
9.98% |
10.03% |
10.69% |
Fri 17 Feb 2012 |
Principal iProp-R |
5.06% |
10.00% |
13.22% |
9.96% |
10.04% |
10.55% |
Fri 17 Feb 2012 |
Benchmark |
5.61% |
10.37% |
14.47% |
11.07% |
9.87% |
|
|
% ต่อปี (Annualized Return) หากกองทุนจัดตั้งมาแล้ว 1 ปีขึ้นไป
เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ : SETPFUND TRI Index 50.00% + FSTREI TRI Index (THB) 50.00% (source: MorningStar Direct ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562)
ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
การวัดผลการดำเนินงาน จัดทำตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ประวัติการจ่ายเงินปันผลและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติกองทุน Principal Property Income
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต/ทั้งนี้โปรดศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการจ่ายเงินปันผลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนข้อมูลโครงการ
กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณากระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/ หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้/ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต/ การวัดผลการดำเนินงาน จัดทำตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน/ ผู้ลงทุนควรศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วยลงทุนและเงื่อนไขการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติและการจ่ายเงินปันผลของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดกองทุน Principal Property Income ที่ www.principal.th ก่อนตัดสินใจลงทุน