
Biz Focus Magazine เป็นนิตยสารรายเดือนที่ร่วมส่งเสริมนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งในและต่างประเทศ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างภาครัฐ - เอกชน และนักลงทุน
+(662) 399-1388
editor@bizfocusmagazine.com
คุณภูมิศักดิ์ เฑียรฆประสิทธิ์ , Design Director / Founder , DOT LINE PLANE Co., Ltd. ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศงานประกวดแบบบ้านและสวนปี 2004 และเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า PAINKILLER มาร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อ DESIGN IS LIVE! ดีไซน์สร้างวิถีชีวิต” ในงานแถลงข่าวโครงการพิจารณาคัดเลือกสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี ปี 2562 หรือ Design Excellence Award 2019 (DEmark) เพื่อส่งเสริมผลงานที่โดดเด่นด้านการออกแบบ และยกระดับสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายในตลาดโลก จัดโดยสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่ม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
เจ้าตัวเผยเคล็ดลับการออกแบบให้งานออกมาบรรเจิด คือต้องออกไปเที่ยว เปิดหูเปิดตา เยี่ยมชมผลงานของศิลปิน หรือดีไซน์เนอร์ท่านอื่นๆ เพื่อเอากลับมาคิดมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน พร้อมเสริมเพิ่มเติมว่า นักท่องเที่ยว กับนักท่องเน็ต ต่างกันเยอะ อย่ามัวแต่ส่องงานทางหน้าจออย่างเดียว ออกไปเจอของจริงจับต้องได้จะดีที่สุด เพราะมันจะได้ความสมบูรณ์แบบด้านอารมณ์ความรู้สึก เคล็ดลับนี้ใครๆ ก็ทำได้ ชวนกันเที่ยวเยอะๆ แล้วกลับมาสมัครส่งผลงานเข้าโครงการ DEmark อาจได้รับรางวัลการออกแบบเป็นเกียรติยศให้กับตัวเองและแบรนด์ไทยได้อีก
สมัครโครงการ DEmark ในช่องทางออนไลน์ได้ที่ www.demarkaward.net ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 082-365-2649, 089-687-0507 หรือ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2507-8262, 0-2507-8278
หน้าร้อนนี้ไม่ต้องบินไกลถึงญี่ปุ่น!! ซีอีเอ ชวนสัมผัสงานดีไซน์สไตล์ญี่ปุ่น ที่นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” ณ ทีซีดีซี กรุงเทพฯ
ช่วงหน้าร้อนแบบนี้! เชื่อเหลือเกินว่า เราคนไทยชาวเมืองเขตร้อน ย่อมอยากหลีกหนีสภาพอากาศที่ร้อนแผดเผา ไปพึ่งพาอากาศเย็นๆ ท่ามกลางบรรยากาศการเบ่งบานของดอกซากุระแบบเพลินๆ กันถึง “ประเทศญี่ปุ่น” ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องความโดดเด่นของศิลปวัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ รวมถึงงานออกแบบของใช้เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตที่ยากต่อการเลียนแบบ ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นในหลากสไตล์หลายรูปแบบ เช่น สไตล์การแต่งตัว รถยนต์คันมินิ เครื่องประดับสไตล์มินิมอล และอื่นๆ เรียกได้ว่าหากใครมีโอกาสได้เห็นแล้วต้องร้องว้าว สแนปภาพ และอยากไปสัมผัสด้วยตัวเองอีกครั้งถึงประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการการันตีว่าได้เห็นด้วยตัวเองแล้ว
แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกเดินทางไปสัมผัสงานดีไซน์ด้วยตัวเองไกลถึงญี่ปุ่น ก็ไม่ต้องรู้สึกเสียดายหรือผิดหวังไป เพราะ! สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้ร่วมมือกับ เจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศไทย (Japan Foundation) นำนิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” (Japan Design Today 100) ที่สัญจรไปจัดแสดงทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 10 ปี โดยจัดแสดงงานดีไซน์สไตล์ญี่ปุ่น กว่า 100 ผลงาน ที่สะท้อนวิถีชีวิต แนวคิดของนักออกแบบ รวมไปถึงความเข้าใจในวัสดุและธรรมชาติที่แฝงอยู่ในวัฒนธรรมคนญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง โดยไฮไลท์งานดีไซน์ที่นำมาจัดแสดง อาทิ
งานออกแบบคลาสสิกระดับตำนานของญี่ปุ่น (Classic Japanese design)
ขวดบรรจุซอสถั่วเหลืองชิ้นแรก ที่ออกแบบให้เทซอสได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดฝา
ชื่อผลงาน: Kikkoman Soy Sauce Dispenser 150ml bottle, 1961
นักออกแบบ: Kenji Ekuan
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัว (Tableware and Cookware)
อุปกรณ์บอกอุณหภูมิสำหรับปิดฝาถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตัวคนจะเปลี่ยนสีตามความร้อน-เย็นของภาชนะ
ชื่อผลงาน: Cupmen 1 Hold on, 2009
นักออกแบบ: Akira Mabuchi
เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ (Apparel and Accessories)
เสื้อโค้ตเพื่อชีวิต นอกจากป้องกันความหนาวเย็นแล้ว โฮม 1 ยังมีกระเป๋าขนาดใหญ่สำหรับเก็บของใช้ยามฉุกเฉินและช่วยให้อยู่รอดในสภาวะขาดแคลน
ชื่อผลงาน: Final Home “HOME 1”, 1994
นักออกแบบ: Kosuke Tsumura
ของใช้สำหรับเด็ก (Children)
หน้ากากป้องกันการติดเชื้อสำหรับทารกอายุตั้งแต่ 1.5 ปีขึ้นไป รูปทรงโดมขยายพื้นที่ภายในหน้ากากทำให้หายใจได้สะดวก
ชื่อผลงาน: First Face Mask for Babies, 2011
อุปกรณ์เครื่องเขียน (Stationary)
เทปกาวจากกระดาษญี่ปุ่น คุณสมบัติ ทนทาน แต่บาง ลอกออกได้ง่าย ปัจจุบัน เอ็มที ถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลายมาขึ้น เช่น วอลเปเปอร์ สำหรับงานตกแต่งภายในอีกด้วย
ชื่อผลงาน: mt-masking tape, 2008
นักออกแบบ: Koji Lyama
อุปกรณ์กิจกรรมสันทนาการ (Hobbies)
ตำนานกล้องเล็ก เลนส์กว้าง GR เป็นกล้องดิจิทัลที่ถือว่ามีระบบชัตเตอร์ไวเหมาะสำหรับถ่ายภาพเหตุการณ์-อารมณ์ความรู้สึกประเภท Street Snap
ชื่อผลงาน: GR, 2013
นักออกแบบ: Tatsuo Okuda, Masahiro Kurita, Takashi Ishida
นอกจากนี้ ภายในนิทรรศการ “ออกแบบแบบญี่ปุ่น” ยังมีงานดีไซน์ในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือน (Furniture and Housewares) ของใช้สำหรับสุขภาพ (Healthcare) ขนส่ง (Transportation) และ อุปกรณ์กู้ภัยและบรรเทาสาธารณภัย (Disaster relief) โดยทั้งหมดเป็นงานดีไซน์ที่สามารถสะท้อนมิติต่างๆของประเทศญี่ปุ่นได้ป็นอย่างดี ทั้งในด้าน แนวคิดของนักออกแบบ รูปแบบวิถีชีวิต ความเข้าใจในธรรมชาติ และวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ผลิตสินค้า โดยผู้สนใจนิทรรศการดังกล่าว สามารถเข้าชมได้ฟรี! โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน - 26 พฤษภาคม 2562 ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.30-21.00 น. ณ ห้องแกลเลอรี่ ชั้น 1 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อาคารไปรษณีย์กลาง (ส่วนหลัง) เขตบางรัก กรุงเทพฯ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 หรือติดตามรายละเอียดที่ tcdc.or.th และ #japandesign100
DEmark ปลุกกระแสดีไซน์เนอร์ เน้นการออกแบบเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าทางการตลาด
สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่ม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการพิจารณาคัดเลือกสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี ปี 2562 หรือ Design Excellence Award 2019 (DEmark) เพื่อส่งเสริมผลงานที่โดดเด่นด้านการออกแบบ และยกระดับสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายในตลาดโลก ช่วยส่งเสริมการออกแบบสินค้าของผู้ประกอบการไทย ใช้ตราสัญลักษณ์ Demark เป็นเครื่องหมายรับรองผลงานที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบ สร้างความแตกต่างและสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย รวมถึงยกระดับสินค้าที่มีการออกแบบดีให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย เพื่อประโยชน์ทางการค้า และเกิดความภาคภูมิใจเป็นแบบอย่างในการพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของประเทศ
รางวัล Demark ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด DESIGN IS LIVE! ดีไซน์สร้างวิถีชีวิต พร้อมการนำเสนอความคิดเห็นของดีไซน์เนอร์ชื่อดัง ในงานเสวนาหัวข้อเดียวกัน เพื่อสร้างการรับรู้ และกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการส่งผลงานการออกแบบเข้าโครงการ Demark award ในปี 2019
คุณพิพิธ โค้วสุวรรณ ดีไซน์ที่ดีที่สุด คืองานที่ขายได้ และใช้งานได้จริง
คุณพิพิธ โค้วสุวรรณ Managing Director, Salt and Pepper Studio Co., Ltd. ผู้ได้รับรางวัล DEmark Award ในปี 2016 และ 2017 ในสาขาเฟอร์นิเจอร์ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบว่า เริ่มต้นมันมาจาก pain point คือการที่ไม่สามารถหาสิ่งที่เราชอบได้ เคยมองหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับสัตว์เลี้ยงของเราเองแต่หาไม่ได้ และก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมที่นอนสุนัขมีแต่ลายสตรอเบอรี่ เลยออกแบบเองโดยไม่ได้คำนึงถึงเทรนด์ เราทำตามความชอบ ซึ่งก็คิดว่าหลายคนอาจเป็นเหมือนกัน ที่นี้พอได้รางวัลจากการ ออกแบบ มันก็เลยทำให้เราได้ประสบการณ์ และได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นทั้งในด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกไปได้อีก สำหรับ DESIGN IS LIVE นั้นมองว่ามันคือไลฟ์สไตล์และการดีไซน์ ที่มารวมกันสร้างวิถีชีวิต หรืออาจเป็น วิถีชีวิต สร้างดีไซน์ ก็ได้ ปัจจุบันผลงานงานเฟอร์นิเจอร์ที่สรรสร้างขึ้นมา ไม่ได้นำเอาเรื่องของความ
งามมาเป็นตัวตั้ง แต่เริ่มต้นคิดมาจาก เรื่องการตลาดและความคุ้มค่า เอามาเป็นแนวทางในการออกแบบ นักออกแบบหลายคนที่สร้างสรรค์ผลงานที่สวยงาม แต่ยังอาจจะไม่มีใครมองเห็น หรือสนใจ DEmark เป็นเวทีที่สร้างสรรค์ผลงานที่นำมาใช้ได้จริง และเป็นเวทีที่ผลิกชีวิตของเราเพราะได้เรียนรู้ว่า ดีไซน์ที่ดีที่สุด คืองานที่ขายได้ และใช้งานได้จริง นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์จากการไปออกงาน Trade Fair ในต่างประเทศร่วมกับกรมด้วย ทำให้ได้ประสบการณ์ ในการทำการตลาดเพิ่มขึ้น
คุณมนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา งานดีไซน์ต้องประกอบด้วยมิติอื่นๆในการสร้างคุณค่าของสิ่งที่เราออกแบบ
สำหรับ คุณมนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา , Architect & Design Director, Hypothesis Co., Ltd. ผู้ได้รับรางวัล Designer of the year Award 2017 และเจ้าของผลงานออกแบบ IR-ON Hotel, AIR SPACE HUA HIN และ Vivarium by chef ministry ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของการออกแบบตกแต่งภายในของ Vivarium ร้านอาหารที่มาจากโกดังเก่า และองค์ประกอบที่ตกแต่งภายในล้วนมาจากของใช้แล้ว นำมาปรับแต่งใหม่ทำให้เกิดบรรยากาศแปลกใหม่โปร่งโล่ง สบายตา ซึ่งคิดว่า ด้วยประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่น่าจะทำให้เกิดผลลัพท์อย่างอื่นได้อีก เราก็เอามาคิดต่อเป็นสถานที่สำหรับจัดงานต่างๆ ได้ และที่นี้เหมาะมากกับการจัดงานแต่งงาน ด้วยชื่อ Vivarium สามารถแปลมาเป็นภาษาง่ายๆ ได้ว่า “มาแต่งงานกัน” โดยสรุปแล้วตนเองคิดว่า DESIGN IS LIVE นั้น มาจากทุกๆอย่างรอบตัว อยู่ที่เราตีความ และเลือกเอามาใช้ การดีไซน์ไม่ควรจะออกมาสวยอย่างเดียว เพราะความสวยมันขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนมองและตัดสิน แต่ต้องควรตอบโจทย์และวัตถุประสงค์ของการใช้สอยให้ได้
งานดีไซน์ต้องประกอบด้วยมิติอื่นๆในการสร้างคุณค่าของสิ่งที่เราออกแบบ เช่น ร้านอาหาร ก็ควรต้องสามารถช่วยทำกำไรได้ ทำให้ธุรกิจได้ตอบสนองความต้องการของคนทำธุรกิจได้ ของบางอย่างสวยแต่ไม่ตอบโจทย์ มันก็ไม่เวิรค์ การส่งผลงานประกวด DEmark นี้ เหมือนการเดินทางลัดที่จะได้ทั้งโอกาสทางการตลาด และชื่อเสียง สามารถช่วยผลักดันความฝันของเราให้เกิดขึ้น ขอเพียงให้ทุ่มเท ตั้งใจ คนก็จะเห็นผลงานเรา
คุณภูมิศักดิ์ เฑียรฆประสิทธิ์ งานดีไซน์เป็นกระบวนการที่ตอบโจทย์ หรือเป็นการแก้ปัญหา เพื่อสร้างสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม มันเป็นการทำสิ่งธรรมดาให้เป็นสิ่งที่พิเศษขึ้นมา
คุณภูมิศักดิ์ เฑียรฆประสิทธิ์, Design Director / Founder , DOT LINE PLANE Co., Ltd. ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศงานประกวดแบบบ้านและสวนปี 2004 และเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า PAINKILLER กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับ DESIGN IS LIVE ได้อย่างน่าสนใจว่า สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราหรือสิ่งที่เราต้องดำเนินชีวิตประจำวัน มันได้ถูกออกแบบมาแล้วตั้งแต่เราตื่นนอน จนกระทั่งทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ โดยเราเป็นผู้ออกแบบเอง
งานดีไซน์เป็นกระบวนการที่ตอบโจทย์ หรือเป็นการแก้ปัญหา เพื่อสร้างสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม มันเป็นการทำสิ่งธรรมดาให้เป็นสิ่งที่พิเศษขึ้นมา พร้อมให้คำแนะนำว่า DEmark คือเวทีสำหรับดีไซน์เนอร์ในการที่จะผลิตผลงานให้มีมาตรฐานในการออกแบบของบ้านเราให้ดีขึ้น ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานทุกชิ้น ไม่ว่าจะได้รางวัลหรือไม่ก็ตาม เพียงถ้าเราตั้งใจทำให้มันเกิด ก็สามารถกระตุ้นให้วงการเกิดการตื่นตัว ในกลุ่มดีไซน์เนอร์ เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ มุมมอง นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้เกิดการสร้างแบรนด์ มีการทำการตลาดอย่างเป็นระบบ ทำให้เราได้ชุดความรู้ในด้านการทำธุรกิจเพิ่มเติมและสามารถต่อยอดนำไปปรับใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย
Mr. Koichi Suzuno
นอกจากนี้ Mr. Koichi Suzuno, Architect l CEO, Torafu Architects Inc. กรรมการตัดสินรางวัล G-mark ยังได้นำเสนอไอเดียการออกแบบคอนเซปต์ Insight Out คือแนวคิดกลับด้านที่มองจากสิ่งเล็กๆ ภายในก่อน ค่อยมองภาพใหญ่ซึ่งจะสามารถเก็บรายละเอียดของงานได้มากขึ้น จากตัวอย่างงานที่นำเสนอคือเมืองจำลองขนาดเล็ก ที่สามารถชมได้จากกล้องที่ติดอยู่กับรถรางที่วิ่งรอบเมืองจำลองเสมือนว่าเรากำลังเดินทางชมเมืองนั้นจริงๆ หรืออีกตัวอย่างของการออกแบบแหวนแต่งงาน ที่นำเอาเรื่องของระยะเวลาที่คู่สมรสอยู่ด้วยกัน มาเป็นปัจจัยในการออกแบบด้วย ยิ่งอยู่ด้วยกันนาน สีโลหะของแหวนก็จะยิ่งส่งประกายแวววาวสวยงามยิ่งขึ้น นั่นคือตัวอย่างของการคิดที่นำเอาเรื่องของชีวิตประจำวันมาใช้ในการออกแบบ
จะเห็นได้ว่า มุมมองของดีไซน์เนอร์บ้านเราต่างก็มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ การเน้นเรื่องการตลาดและความคุ้มค่า นำมาเป็นปัจจัยตั้งต้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลงานที่ออกมาจะเห็นเป็นรูปธรรมและจับต้องได้มากขึ้น เวที DEmark จะช่วยส่งเสริมให้ ดีไซน์เนอร์ไทย ได้รับการยอมรับในตลาดสากลมากขึ้น
รางวัล Demark ในปีนี้ มีการพิจารณารางวัลเพิ่มขึ้นอีกกลุ่มผลงาน จากเดิม 6 เดิม มาเป็น 7 กลุ่ม คือ
สำหรับผู้ได้รับรางวัล DEmark จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เช่น สามารถใช้โลโก้ DEmark ในการส่งเสริมการขายสินค้าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้รับส่วนลดค่าใช้จ่ายสมทบโครงการร้อยละ 50 ในการเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าในต่างประเทศที่กรมฯเข้าร่วม (ไม่เกิน 3 ครั้งในเวลา 1 ปี) ได้รับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการโฆษณาในสื่อต่างๆ รวมทั้งนำสินค้าไปจัดแสดงนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศ อาทิ งานแสดงสินค้า STYLE Bangkok และ Milan Design Week นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัล Demark จะได้เข้ารอบ 2 รางวัล G-mark ประเทศญี่ปุ่นโดยทันที
โครงการ DEmark Award 2019 เปิดรับสมัครทั้งในรูปแบบของบริษัทและนักออกแบบอิสระ ซึ่งผู้สมัคร 1 ราย หรือ 1 บริษัท สามารถสมัครได้มากกว่า 1 ผลิตภัณฑ์ แต่ไม่เกิน 5 ผลิตภัณฑ์ และจะต้อง เตรียมเอกสารการสมัครและเอกสารประกอบต่างๆ ให้ครบทุกผลิตภัณฑ์ โดยสมัครในช่องทางออนไลน์ได้ที่ www.demarkaward.net ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 082-365-2649, 089-687-0507 หรือ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2507-8262, 0-2507-8278
กระทรวงพาณิชย์เปิดเส้นทางส่งเสริมผลงานนักออกแบบไทย แสดงศักยภาพการออกแบบสู่สากล ในโครงการ DEmark
สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่ม กรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เริ่มโครงการพิจารณาคัดเลือกสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี ปี 2562 หรือ Design Excellence Award 2019 (DEmark) เพื่อส่งเสริมผลงานที่โดดเด่นด้านการออกแบบ และยกระดับสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายในตลาดโลก เปิดรับสมัครนักออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก เข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม จนถึง วันที่ 20 พฤษภาคม 2562
นางวรรณภรณ์ เกตุทัต รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
นางวรรณภรณ์ เกตุทัต รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า รางวัล Design Excellence Award (DEmark) มีที่มาจากรางวัล Prime Minister’s Export Award ( PM Export Award) ในสาขา Best Design ซึ่งจากเดิมพิจารณาจากกระบวนการพัฒนาสินค้าเป็นหลัก ต่อมาได้มีการพัฒนามาสู่การพิจารณาให้รางวัลสินค้าที่มีการออกแบบดี ซึ่งในปีนี้นับว่าจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 12 โดยกรมได้รับความร่วมมือจากสถาบันส่งเสริมการออกแบบแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ Japan Institute of Design Promotion (JDP) ในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากรางวัล Good Design Award (G-mark) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรางวัลด้านการออกแบบที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลมาร่วมพิจารณาตัดสิน DEmark และสนับสนุนผลงานที่ได้รับรางวัล DEmark เข้าร่วมการประกวดรางวัล G-mark ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงยังให้ความร่วมมือด้านอื่น ๆ เพื่อให้รางวัล DEmark ได้มาตรฐานสากล
รางวัล DEmark จะช่วยส่งเสริมการออกแบบสินค้าของผู้ประกอบการไทย โดยใช้ตราสัญลักษณ์ DEmark เป็นเครื่องหมายรับรองผลงานที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบ สร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย รวมถึงยกระดับสินค้าที่มีการออกแบบดีให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายในตลาดโลก เพื่อประโยชน์ทางการค้า และเกิดความภาคภูมิใจเป็นแบบอย่างในการพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของประเทศต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ นักออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก โดยคาดหวังว่าจะมีผู้สมัครกว่า 600 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัล DEmark 2019 จำนวน 100 รายการ
รางวัล DEmark ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด DESIGN IS LIVE! ดีไซน์สร้างวิถีชีวิต เพราะการออกแบบที่ดีนั้นอยู่รอบตัวเรา ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งผลงานออกแบบของคนไทยในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับขยายวงกว้างไปสู่สินค้าและบริการที่ครอบคลุมวิถีชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น และในปีนี้จึงมีการพิจารณารางวัลเพิ่มขึ้นอีกกลุ่มผลงาน จากเดิม 6 เดิม มาเป็น 7 กลุ่ม คือ
ในปีนี้ ภายในงานแถลงข่าวมีการเสวนา ในหัวข้อ “DESIGN IS LIVE! ดีไซน์สร้างวิถีชีวิต” ยังได้รับเกียรติจากกรรมการตัดสินรางวัล G-mark คือ Mr. Koichi Suzuno, Architect l CEO, Torafu Architects Inc. มาร่วมบรรยายพิเศษ พร้อมทั้งนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และนักออกแบบตกแต่งภายในมาร่วมพูดคุยอีกด้วย ได้แก่
สำหรับผู้ได้รับรางวัล DEmark จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เช่น สามารถใช้โลโก้ DEmark ในการส่งเสริมการขายสินค้าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้รับส่วนลดค่าใช้จ่ายสมทบโครงการร้อยละ 50 ในการเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าในต่างประเทศที่กรมฯเข้าร่วม (ไม่เกิน 3 ครั้งในเวลา 1 ปี) ได้รับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการโฆษณาในสื่อต่างๆ รวมทั้งนำสินค้าไปจัดแสดงนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศ อาทิ งานแสดงสินค้า STYLE Bangkok และ Milan Design Week นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัล DEmark จะได้เข้ารอบ 2 รางวัล G-mark ประเทศญี่ปุ่นโดยทันที ซึ่งสินค้าไทยที่ได้รับรางวัล DEmark ทั้งหมด จำนวน 749 รายการได้รับรางวัล G-Mark แล้ว จำนวน 428 รายการ โดยนักออกแบบ/ผู้ประกอบการสามารถใช้โลโก้ความความร่วมมือ DEmark และ G-mark เพื่อช่วยส่งเสริมเป็นช่องทางทางการค้าต่อไป
รางวัล DEmark เป็นเครื่องหมายที่ช่วยให้นักออกแบบและผู้ประกอบการไทยได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีมูลค่าทางการค้าที่สูงขึ้น และเป็นที่รู้จักในระดับสากลโดยได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ เช่น รางวัล Reddot Design Award, IF Design Award ได้แก่ บริษัท เอ็ม วอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตน้ำดื่ม Sprinkle, บริษัท Prompt Design จำกัด, บริษัท ดีโอทีเอส จำกัด บริษัท Thinkk Studio จำกัด และแบรนด์ Korakot เป็นต้น
โครงการ DEmark Award 2019 เปิดรับสมัครทั้งในรูปแบบของบริษัทและนักออกแบบอิสระ ซึ่งผู้สมัคร 1 ราย หรือ 1 บริษัท สามารถสมัครได้มากกว่า 1 ผลิตภัณฑ์ แต่ไม่เกิน 5 ผลิตภัณฑ์ และจะต้อง เตรียมเอกสารการสมัครและเอกสารประกอบต่างๆ ให้ครบทุกผลิตภัณฑ์ โดยสมัครในช่องทางออนไลน์ได้ที่ www.demarkaward.net ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 082-365-2649, 089-687-0507 หรือ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2507-8262, 0-2507-8278
ซีอีเอ เปิดโฉม 10 สินค้าของฝากโลคอล 3 จังหวัดท่องเที่ยวภาคตะวันออก ดีไซน์ใหม่ เตรียมดันขึ้นเชลฟ์โมเดิร์นเทรดด้วย “งานดีไซน์และความคิดสร้างสรรค์”
“ของฝาก” ถือเป็นสิ่งที่สะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการหยิบยกวัตถุดิบหรือผลผลิตในท้องที่ที่มีอยู่จำนวนมาก มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ออกมาวางจำหน่ายตามร้านค้าหรือตลาดภายในชุมชน ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างรายได้คืนสู่ชุมชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่นแล้ว ยังตอกย้ำความโดดเด่นของผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ แต่ทั้งนี้ ของฝากที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน กลับไม่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องก้าวข้ามกรอบความคิดเดิมๆ ผ่านการนำความคิดสร้างสรรค์และแนวคิดในการออกแบบที่ทันสมัย มาปรับโฉมผลิตภัณฑ์ให้มีสีสันและความน่าสนใจ แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเลือกซื้อของนักท่องเที่ยวในอนาคต
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA จึงได้จับมือผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ดำเนินโครงการพิเศษ ยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้มีภาพลักษณ์โฉมใหม่ที่ตรงใจนักท่องเที่ยวมากขึ้น ผ่านลงพื้นที่สำรวจหน้าตาสินค้าและของฝาก 3 จังหวัดในพื้นที่อีอีซีอย่าง “ฉะเชิงเทรา - ชลบุรี - ระยอง” พร้อมปรับรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ (Redesign) เช่น ขนมฝอยทอง มะยมเชื่อม ปลาหมึกอบแห้ง และอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การยกระดับของฝากโลคอลแบรนด์ ให้มีความทันสมัย แปลกใหม่ ตลอดจนสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดและเทียบชั้นกับสินค้าในตลาดโมเดิร์นเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายบุญฤทธิ์ อรัญกูล ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริษัท Ihapstudio
นายบุญฤทธิ์ อรัญกูล ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริษัท Ihapstudio สตูดิโอออกแบบครบวงจร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ผลิตแบรนด์ไทยและต่างประเทศมานานกว่า 10 ปี กล่าวว่า คณะทำงาน ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับผู้ผลิตและผู้ประกอบการชุมชน โดยมี ซีอีเอ เป็นผู้ประสานงานตลอดการดำเนินงาน เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนา “บรรจุภัณฑ์ท้องถิ่น” สู่บรรจุภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่ายในตลาดโมเดิร์นเทรดและเหมาะสำหรับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ภายใต้แนวคิด “Eat.East: EEC Packaging for everyone” ผ่านการทำความเข้าใจร่วมกันในลักษณะของการขาย วิธีการนำเสนอ รวมถึงปัญหาต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังได้แลกเปลี่ยนแนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อหาจุดยืนในการสร้างเอกลักษณ์ สร้างการจดจำแก่นักท่องเที่ยว สร้างคุณค่าให้กับของฝากแบรนด์โลคอล ตลอดจนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในชุมชน
โดยคณะทำงานได้อาศัยแนวคิดการออกแบบเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ที่ยกระดับสินค้าท้องถิ่นด้วย “งานดีไซน์-ความครีเอทีฟ” การผสานไอเดียสร้างสรรค์และลูกเล่นต่างๆ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดสายตานักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย สู่ 10 บรรจุภัณฑ์ของฝากประจำท้องถิ่นใน 3 จังหวัดอีอีซีที่ควรค่าแก่การเลือกซื้อเป็นของฝากเป็นอย่างมาก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณสมบัติของผู้ผลิตและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ นอกจากการมีพื้นฐานความรู้ด้านการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่แล้ว ยังจำเป็นต้องรู้รอบเรื่องการสร้างจุดขายให้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างการจดจำและกระตุ้นพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ผ่านพัฒนาลูกเล่นบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมากกว่าสิ่งหุ้มห่อสินค้า เช่นเดียวกับ “ของฝาก” ที่พบเห็นได้จากต่างประเทศ ที่ผู้ผลิตเลือกสร้างอัตลักษณ์ให้กับสินค้าผ่านการใช้งานดีไซน์เข้าไปสร้างสีสันให้กับบรรจุภัณฑ์หลากรูปแบบ เช่น หมู่บ้านแมวหูต่ง (Houtong Cat Village) ประเทศไต้หวัน ที่ของฝากทุกชิ้น รวมถึงบรรยากาศภายในหมู่บ้านตั้งแต่สถานีรถไฟ ร้านค้าและคาเฟ่ ก็ถูกตบแต่งและรังสรรในแบบต่างๆ โดยที่มีแมวเป็นองค์ประกอบ ทั้งขนมเปี๊ยะหน้าน้องแมว โปสการ์ดรูปน้องแมว รวมถึงป้ายบอกทางรูปน้องแมว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การแต่งเติมความคิดสร้างสรรค์หนึ่งๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์หรือผลงานต่างๆ ย่อมสร้างความแตกต่างได้อย่างน่าสนใจ ขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้หลายเท่าตัว นายบุญฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่า ซีอีเอ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ยังคงมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการเติมเต็มศักยภาพบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสร้างสรรค์ หรือเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจด้านงานออกแบบในแขนงต่างๆ ผ่านการกระจายแหล่งเรียนรู้ด้านครีเอทีฟสู่ภูมิภาค หรือ “miniTCDC CENTER” เพื่อผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมุมบวก หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการในอนาคต
โดยล่าสุด ได้จัดตั้งสาขาที่ 6 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ครีเอทีฟฮับแห่งใหม่ของภาคตะวันออก แหล่งรวมต้นไอเดียสำหรับการคิด พัฒนา ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษา นักออกแบบ ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ ให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านงานออกแบบและไอเดียในการเริ่มต้นธุรกิจสร้างสรรค์ พร้อมผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชน ธุรกิจสร้างสรรค์ระดับชุมชน ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดอีอีซี ตลอดจนพัฒนาศักยภาพพื้นที่สร้างสรรค์ให้เป็นที่ยอมรับและพร้อมรองรับการขยายตัวการลงทุนและเขตท่องเที่ยวในเขตอีอีซี ผ่านการศึกษา
ทั้งนี้ มินิ ทีซีดีซี เซนเตอร์ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พร้อมเปิดให้บริการแก่คณาจารย์ นักศึกษา นักออกแบบ ผู้ประกอบการในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ที่มีความสนใจ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ cea.or.th