December 06, 2024
01Top_Nine-Plus

ทีทีบี สนับสนุนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เตรียมพร้อมรับมือกับเศรษฐกิจ

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

ทีทีบี สนับสนุนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เตรียมพร้อมรับมือกับเศรษฐกิจ การค้าโลกและค่าเงินผันผวนในปีหน้า โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย

          ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดสัมมนา ttb I Global Trade & FX Forum ภายใต้หัวข้อ “The Future of Asia : Economic Trends and Trade Challenges for Thailand 2025” วิเคราะห์เจาะลึกสภาวการณ์เศรษฐกิจของไทยและการค้าโลกในปี 2025 เปิดมุมมองและประสบการณ์ตรงในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญในภาครัฐ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจากธุรกิจขนาดใหญ่ พร้อมแนะนำเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของไทย บริหารความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

          นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า อิทธิพลของภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งทางการค้า ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังคงเป็นปัญหาหลักที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งถือเป็นความท้าทายและเป็นความเสี่ยงอย่างมาก สำหรับผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากความผันผวนของค่าเงินสามารถส่งผลกระทบต่อกำไรและต้นทุนของธุรกิจ นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนยังเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงนโยบายของจีนส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและโอกาสทางการค้าของธุรกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ในขณะที่ตลาดเอเชียยังคงมีศักยภาพในการเติบโตสูง ซึ่งการเข้าถึงตลาดเหล่านี้ช่วยกระจายความเสี่ยงและเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคต

          จากปัจจัยดังกล่าว นับเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศต้องมีความเข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดการค้าโลกและในเอเชีย เพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระดับโลก รักษาความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตในระยะยาว  ซึ่งงานสัมมนาในครั้งนี้ ทีทีบีมุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถวางแผนและปรับกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม รู้วิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการทำการค้าระหว่างประเทศ และได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำการค้าระหว่างประเทศในตลาดการค้าโลก

          สำหรับงานสัมมนา ttb I Global Trade & FX Forum ภายใต้หัวข้อ “The Future of Asia : Economic Trends and Trade Challenges for Thailand 2025”  มีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำการค้าระหว่างประเทศในตลาดเอเชีย ผู้บริหารความเสี่ยงการทำการค้าระหว่างประเทศมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานนำไปปรับใช้กับองค์กรได้ตรงจุดมากขึ้น โดยมีวิทยากร ได้แก่ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษาและรองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและการค้าไทย ในหัวข้อ The 2025 Horizon: China’s Impact on Global Trade” และนายนริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต ให้มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย ในหัวข้อ Global & Thailand Economic Outlook 2025”

          นอกจากนี้ มีการจัดเวทีเสวนาแบ่งปันประสบการณ์จากผู้บริหารเจ้าของธุรกิจนำเข้าและส่งออก และมุมมองของภาครัฐ ในหัวข้อ Asia Trade Link Opportunities and Challenges” โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทย ในตลาดเอเชีย โดย นายอรรถ เมธาพิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงิน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) ดร.ธนภัท แสงอรุณ ผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อดีตรองกงสุลฝ่ายพาณิชย์ ณ เมืองมุมไบ และนางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต ที่มาแนะนำเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของไทย บริหารความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ

          ทีทีบี เป็นธนาคารที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในทุกสถานการณ์ ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยบริหารความเสี่ยงสำหรับการนำเข้า-ส่งออก สำหรับการวางแผนการบริหารงานและกลยุทธ์การเติบโตขององค์กรได้อย่างยั่งยืน

Page Visitor

012774287
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
9211
16964
76801
76801
505277
12774287
Your IP: 18.97.9.169
2024-12-06 17:48
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.