มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร ร่วมกับ บริษัท ไอ ซี พี เอ็กซ์ จำกัด ร่วมวิจัยและพัฒนาโดรนการเกษตร
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์เกษตรกรยุคใหม่
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัท ไอ ซี พี เอ็กซ์ จากัด ผู้ผลิตโดรนสัญชาติไทยรายแรกในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ Mabin (ม้าบิน) ร่วมวิจัยและพัฒนาโดรนการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตในข้าวโพด พร้อมยกระดับมาตรฐานกระบวนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรนำโดรนไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยโดรน MABIN-X4 ที่ตอบโจทย์เกษตรกรยุคใหม่ พร้อมลงพื้นที่ทดลองตัวอย่างเพาะปลูกข้าวโพด ไร่สุวรรณ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา
รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “คณะเกษตรมีปณิธานที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยความมุ่งมั่นในการวิจัยค้นคว้า เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ ทางด้านการเกษตรและนำมาปรับปรุงพัฒนาพันธุ์พืชให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และความกินดีอยู่ดีของประชากรโลก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทาการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้และให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยครั้งนี้ได้รับความร่วมมือทางวิชาการจาก บริษัท ไอ ซี พี เอ็กซ์ จากัด ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีด้านโดรนเพื่อการเกษตร เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรทั่วไปได้รับความรู้ และสามารถพัฒนาการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้นอย่างยั่งยืน”
ด้าน คุณวชิรวัฒน์ อังศุพาณิชย์ กรรมการบริษัท ไอ ซี พี เอ็กซ์ จากัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “ไอ ซี พี เอ็กซ์ เป็นผู้ผลิตโดรนสัญชาติไทยรายแรกในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ Mabin (ม้าบิน) ที่ผ่านมาเรามุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเกษตรกรไทย ยกระดับคุณภาพชีวิต ประสิทธิภาพและความมั่งคั่งสู่เกษตรกรไทยอย่างทั่วถึง สำหรับโครงการพัฒนาโดรนเกษตรที่ทำร่วมกับคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น เป็นการร่วมวิจัยและพัฒนาโดรนเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตในข้าวโพด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักด้วยกัน คือ 1.ทำแปลงทดสอบการใช้โดรนฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช สารกำจัดแมลง สารป้องกันกำจัดโรคพืช และอาหารเสริม เพื่อเพิ่มผลผลิต ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 2.จัดอบรมให้ความรู้แก่นักบินโดรน เกษตรกร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ผ่านช่องทางออนไลน์ เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2566”
สำหรับโดรนที่นำมาร่วมทำการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้คือ โดรน MABIN รุ่น X4 ตอบโจทย์เกษตรกรยุคใหม่ โครงสร้างของโดรนถูกออกแบบติดตั้งชุดหัวพ่นสารน้ำให้มีความเหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศไทย จำพวก นาข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง พร้อมทำการพัฒนาโปรแกรมการใช้งานโดรนเป็นภาษาไทย เพื่อให้การใช้งานของชาวเกษตรกรมีความเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้สะดวกและง่ายต่อการทำงาน โดยมีทีมงานให้คำปรึกษาและดูแลตรวจซ่อมบำรุงโดรนทุกขั้นตอน และส่งเสริมให้ชาวเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ที่ไม่ต้องเสี่ยงได้รับสารพิษ นอกจากนี้ ยังได้ทำการบินทดลองและทดสอบ เพื่อวิจัยปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาโดรนเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในพื้นที่ทดลองตัวอย่างเพาะปลูกข้าวโพด โดยใช้สถานที่ไร่สุวรรณ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ด้วยน้ำหนักที่เบา เคลื่อนย้ายสะดวก เมนูภาษาไทยเข้าใจง่าย ของโดรน MABIN-X4 มีระบบ RTK จับ GPS เพิ่มความแม่นยำมากขึ้น ระบบอัจฉริยะ สามารถคำนวณเส้นทางเมื่อน้ำยาหมด บินกลับไปต่อจุดเดิม ได้โดยคำนวณระยะทางสั้นสุดในระบบออโต้ จึงทำให้การทำงานรวดเร็วและประหยัดเวลา และยังมีระบบสมาร์ท แอลติจูต สามารถกำหนดความสูงที่แตกต่างกันในพืชสวนได้ โดรนเกษตร MABIN-X4 ปรับยกระดับความสูง หัวแปลง และท้ายแปลงด้วยระบบอัตโนมัติเพื่อลดปัญหาข้าวล้ม และการกระจุกตัวของน้ำยากรอง 2 ชั้น และปั้มน้ำคู่ทำงานแบบอิสระ ลดการอุตันภายในปั้ม หัวเจ็คคู่ พร้อมจานเหวี่ยงอัจฉริยะ ทำให้ละอองกว้างถึง 8 เมตร อัตราการไหลสูงสุดถึง 8 ลิตร/นาที ทำให้ทั่วถึงทุกส่วนของพืช โดยขณะทำการบินสามารถกำหนดจุดให้โดรนหยุดและพ่นแต่ละต้นได้โดยไม่ต้องตั้งเสา RTK ติดตั้งมอเตอร์ทรงคว่ำ เพิ่มแรงยก ลดแรงต้านเอกลักษณะเฉพาะของโดรน MABIN – X4 ซึ่งประหยัดพลังงานมากขึ้นถึง 20%
“ปัจจุบัน บริษัท ไอ ซี พี เอ็กซ์ จำกัด ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตโดรนเกษตรไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายโดรนเกษตร แบรนด์ DJI ซึ่งมีความทันสมัยเป็นลำดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรไทย เพิ่มโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ จากทั่วทุกมุมโลก” คุณวชิรวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย