December 23, 2024
01Top_Nine-Plus

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA จากสหสถาบัน ร่วมพัฒนาอาหารอวกาศส่งประกวด NASA

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดแถลงข่าว เปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA จากประเทศไทย เป็น 1 ใน 10 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบการแข่งขันเฟสแรก “โครงการพัฒนาระบบผลิตอาหารอัตโนมัติและครบวงจรสำหรับนักบินอวกาศ Deep Space Food Challenge” เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) และองค์การอวกาศแคนาดา (Canadian Space Agency) โดยมีโจทย์สุดท้าทายคือ ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันสร้างระบบที่สามารถผลิตอาหารได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องพึ่งการขนส่งไปเติมเพิ่ม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจเดินทางไป-กลับดาวอังคารของนักบินอวกาศ

โดยมีเครือข่ายความร่วมมือจากสหสถาบันให้การสนับสนุน ประกอบด้วย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกันนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เตรียมพื้นที่ในอาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน  ไว้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศร่วมกันในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในอนาคต

 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีความภาคภูมิใจและยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุน “โครงการพัฒนาระบบผลิตอาหารอัตโนมัติและครบวงจรสำหรับนักบินอวกาศ” ให้กับ ทีม KEETA (กีฏะ) ซึ่งมี อาจารย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนักวิจัยจากสหสถาบันร่วมกันพัฒนาโครงการนี้จนผ่านเข้าไปสู่เฟสที่ 2 ได้สำเร็จ โดยเป็น 1 ใน 9 ทีมที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เตรียมพื้นที่ห้องปฏิบัติการสำหรับทำงานวิจัยนี้ร่วมกัน ณ  อาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  โดยคาดหวังว่าที่นี่จะเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงจิรายุ  เอื้อวรากุล คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

โครงการ Deep Space Food Challenge เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นโดย องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) และองค์การอวกาศแคนาดา (Canadian Space Agency) โดยมีโจทย์สุดท้าทายคือ ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันสร้างระบบที่สามารถผลิตอาหารได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องพึ่งการขนส่งไปเติมเพิ่ม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจเดินทางไป-กลับดาวอังคารของนักบินอวกาศ ทีม KEETA (กีฏะ) ใช้จุดเด่นของวัฒนธรรมอาหารไทยอย่างโดยใช้ประโยชน์จากแมลงผสมผสานกับเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสร้างระบบผลิตอาหารที่มีรูปลักษณ์และคุณสมบัติตามต้องการ จนแนวคิดนี้ไปถูกใจคณะกรรมการและได้เป็น 1 ใน 9 ทีมที่ผ่านเข้าเฟส 2 ของรอบการแข่งขัน โดยในที่สุดจะมีการคัดเลือกเหลือ 3 ทีมสุดท้ายในต้นปี 2566

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน อาจารย์ ดร.วเรศ จันทร์เจริญ และ ทีม KEETA (กีฏะ) ในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติสู่เวทีนานาชาติครั้งนี้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้ทำผลงานวิจัยที่นำไปพัฒนาต่อยอดและนำไปใช้ได้จริง

อาจารย์ ดร.วเรศ จันทร์เจริญ อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ หัวหน้าทีม KEETA (กีฏะ)

โครงการ Deep Space Food Challenge เป็นอีกหนึ่งความท้าทายในรอบ 100 ปีของ NASA Centennial Challenges (การแข่งขันด้านอวกาศของนาซ่า) โดยมีเป้าหมายคือกระตุ้นนวัตกรรมการวิจัยทั้งพื้นฐานและประยุกต์ การพัฒนาเทคโนโลยี หรือการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องผลิตอาหารสำหรับภารกิจทางอวกาศเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเพียงพอต่อนักบินอวกาศ 4 คนโดยไม่มีเสบียงเพิ่ม ที่สำคัญคือใช้เวลาการเตรียมอาหารให้ ‘น้อย’ ที่สุด มีความปลอดภัย มีโภชนาการสูง เป็นมิตรกับอวกาศและบนโลกอย่างเสมอภาคกัน

โดยความตั้งใจของทีม KEETA (กีฏะ) นอกจากเข้าร่วมการแข่งขันแล้ว เราต้องการสร้าง เทคโนโลยีทางอวกาศ ซึ่งต้องใช้กินได้ กินได้ในที่นี้ไม่ได้กินเป็นอาหาร แต่สามารถสร้างรายได้ ทำให้เกิดธุรกิจต่อประเทศ หรือทำให้เกิดเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy หรือ Space Business) นั่นคือความตั้งใจหลักของทีม โดยจะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ในประเทศไทย เพื่อใช้กับภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และภาควิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และถ้าเราชนะในเฟสที่สามต่อไปนั้น คนที่ได้ผลงานคือ คนทั้งประเทศ

Page Visitor

013037645
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
16523
14777
31300
340159
505277
13037645
Your IP: 3.148.144.139
2024-12-23 17:12
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.