January 28, 2025

กรมทางหลวงชนบทคว้ารางวัลเกียรติยศ “เลิศรัฐ”

User Rating: 2 / 5

Star ActiveStar ActiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

กรมทางหลวงชนบทคว้ารางวัลเกียรติยศ “เลิศรัฐ”

กรมทางหลวงชนบทโชว์ศักยภาพความสำเร็จด้วยรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลเปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance) ระดับดี พร้อมเผยแผนปี 63 มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาคราชการมากยิ่งขึ้น

คุณประศักดิ์ บัณฑุนาค รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.)

คุณประศักดิ์ บัณฑุนาค รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ในปีนี้กรมทางหลวงชนบท ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลเปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance) ระดับดี ประจำปี 2562 ส่วนแนวทางการดำเนินการที่ส่งผลให้ได้รับรางวัลนี้ สืบเนื่องมาจาก ที่ผ่านมากรมทางหลวงชนบทได้ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน จนกลายเป็นค่านิยมขององค์กร

รวมทั้ง การเข้าร่วมหลักสูตร Public Participation Spectrum  ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยหลักสูตรนี้เป็นการสอนทฤษฎีการเปิดระบบราชการทุกสังคม และจึงมาประมวลประยุกต์เรื่องการปฏิสัมพันธ์ภาคประชาชน ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การแบ่งปันข้อมูล(Inform) 2. ปรึกษาหารือ (Consult) 3. การเข้ามาเกี่ยวข้อง (Involve) 4. การร่วมมือ (Collaboration) และ 5. เสริมพลังเพิ่มอำนาจ (Empower)

โดยทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นที่มาของการเปิดระบบราชการของกรมทางหลวงชนบทให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่งผลให้ได้มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น โดยสิ่งที่จะได้รับคือ ทำให้ประชาชนเกิดประโยชน์สุข ได้สัญจรโดยที่อุบัติลดน้อยลง ซึ่งเป็นเป้าหมายจริงๆ ของการได้รางวัลนี้

สำหรับการเปิดระบบราชการของกรมทางหลวงชนบทให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม คือกระบวนการสร้างคุณค่า ซึ่งหน้าที่ที่ควรทำและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ 1. พึงสำนึกว่าบุคลากรทุกคนเป็นแค่เจ้าหน้าที่ของบริษัทประเทศไทยจำกัดที่มี 67 ล้านคนถือหุ้นจ้างมาทำงาน เบื้องต้นต้องสำนึกว่าเงินเดือนที่ได้รับมาจากประชาชน 2. ต้องระดมความคิดเพื่อให้ประชาชนได้มามีส่วนร่วม และหน่วยงานต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ 3. เน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการสร้างสมดุลระหว่างผลผลิตหลัก กับผลผลิตของการสร้างคุณค่า

“จริงๆ เราไม่ได้มุ่งเน้นที่ตัวรางวัล แต่อยากให้มองที่กฎของกรมทางหลวงชนบทมากกว่า อยากให้เห็นว่าเราเปิดโครงการเพื่อที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด ซึ่งรางวัลนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มาการันตีเท่านั้น แต่รางวัลที่เราอยากได้จริงๆ คือรางวัลจากประชาชน คือ คำที่ประชาชนบอกว่ากรมทางหลวงชนบททำงานมีคุณภาพ มีศักยภาพ นั่นคือสิ่งที่ต้องการจะได้ยินและจะช่วยให้มีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่เหนือกว่าทุกรางวัล” คุณประศักดิ์กล่าว

คุณประศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2563 กรมทางหลวงชนบทวางแผนในการที่จะให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยการเปิดเวทีประชาคมทุกโครงการที่มีการเซ็นสัญญาจ้างเหมาที่มูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียน ตลอดกระบวนการทำงาน ตั้งแต่ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง และภายหลังการดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งทุกกิจกรรมจะเน้นจัดในวันหยุด เพื่อที่จะให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

ด้านเป้าหมายของกรมทางหลวงชนบทในอีก 2 ปีต่อจากนี้ที่จะต้องทำให้สำเร็จคือ เรื่องของภาพรวมในการบริหารที่ดี โดยจะดำเนินการในทุกๆ ด้านควบคู่กันไปจนสำเร็จไม่ใช่ผลักดันเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น รวมทั้ง เป้าหมายที่เป็นกระบวนงานหลักในการสร้างผลผลิต คือ 2 ปีต่อจากนี้ จะต้อง “ไม่เสีย ไม่ซ่อม” ดังนั้น จึงต้องเพิ่มความเข้มข้นในการสื่อสาร เพื่อดึงให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน กรมทางหลวงชนบทมีหน้าที่ ที่ 3 คือต้องทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศให้มีความเข้มแข็งด้านงานก่อสร้างทางมากขึ้นกว่าเดิม

คุณประศักดิ์ กล่าวต่อถึงเรื่องที่อยากจะฝากว่า ทุกคนควรเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับคนอื่นให้ได้ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การจัดการกับความคิดของตัวเอง หรือที่เรียกว่า มายด์เซ็ท (Mindset) โดยจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดพฤติกรรมและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นให้ได้ เช่น การใช้รถใช้ถนน ซึ่งต่างคนต่างสนใจเพียงจุดหมายของตน โดยที่ทุกฝ่ายไม่ได้คำนึกถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกัน จริงๆ แล้ว  ตนมองว่าทุกคนล้วนรู้เหตุผลทั้งหมดแต่สำคัญที่สุดคือการควบคุม ทั้งเรื่องความคิด การกระทำ ดังนั้นจึงควรที่จะเรียนรู้การอยู่ร่วมกันให้ได้เพื่อที่จะช่วยลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นบนท้องถนน

อนึ่ง ตามมาตรา 20 อนุ 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2545 กำหนดให้มีกรมทางหลวงชนบทในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยให้โอนกิจการ อำนาจ หน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังบางส่วน ที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างทางและสะพานจากกรมโยธาธิการ และจากกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท สังกัดกระทรวงมหาดไทย มารวมกันก่อตั้งเป็น “กรมทางหลวงชนบท” เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พุทธศักราช 2545 ตั้งแต่นั้นมา

โดยกระทรวง คมนาคมได้ออกกฎกระทรวง กำหนดให้กรมทางหลวงชนบทมีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทาง หลวง การก่อสร้างและบำรุงรักษาทางหลวง ให้มีโครงข่ายทางหลวงที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง โดยให้มีอำนาจ หน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางหลวงชนบทรวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. วิจัยและพัฒนางานก่อสร้างทาง บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวงชนบท 3. จัดทำมาตรฐาน และข้อกำหนดทางหลวงชนบท ตลอดจนกำกับและตรวจสอบเพื่อให้มีการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานและข้อกำหนด 4. ฝึกอบรมและจัดทำคู่มือ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับวิศวกรรมงานทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. ร่วมมือและประสานงานด้านทาง กับองค์กรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย จากขอบเขตอำนาจ หน้าที่ ดังกล่าว กรมทางหลวงชนบทได้ระดมความคิดเห็นของบุคลากรในองค์กรร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล โดยมีวิสัยทัศน์ ดังนี้  “พัฒนา เพิ่มคุณค่า เติมต่อโครงข่ายทางให้สมบูรณ์ อย่างพอเพียงและยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”

Page Visitor

013755764
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
1159
27130
55685
549217
509061
13755764
Your IP: 18.116.28.123
2025-01-28 01:53
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.