December 24, 2024
01Top_Nine-Plus

กรมโยธาธิการฯ โชว์ความคืบหน้าผัง EEC

User Rating: 3 / 5

Star ActiveStar ActiveStar ActiveStar InactiveStar Inactive
 

กรมโยธาธิการฯ โชว์ความคืบหน้าผัง EEC

กรมโยธาธิการและผังเมืองคาด ปี 2565 ทยอยประกาศใช้ผัง EEC 4 ผัง วางเป้าหมายประกาศใช้ครบ 30 ผังภายในปี 2567 ชี้การวางผังเมืองส่งผลดีต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้มีความเหมาะสมทั้งพื้นที่อยู่อาศัยและการประกอบกิจการ พร้อมเดินหน้าประชาสัมพันธ์สนับสนุนให้ประชาชนและผู้ประกอบเข้ามามีส่วนร่วมในการการแสดงความคิดมากยิ่งขึ้น

คุณอนวัช สุวรรณเดช รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง 

คุณอนวัช สุวรรณเดช รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวถึงความคืบหน้าของการวางผังเมือง รวมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองมีนโยบายกําหนดขอบเขตการวางและจัดทําผังเมืองรวมในพื้นที่ EEC ให้เป็นไปตามนโยบายการวางผังเมืองรวมศูนย์กลางอําเภอที่ดําเนินการอยู่แล้วทั่วประเทศ โดยกําหนดให้เขตวางผังเมืองรวม ครอบคลุมพื้นที่ 30 อําเภอ จํานวน 30 ผัง ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง

ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้มีการดำเนินการจัดทำผังเมืองทั้ง 30 ผังมาอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละผังมีความก้าวหน้าที่แตกต่างกัน คาดว่าจะทยอยประกาศใช้ได้ในปี 2565 ประมาณ 4 ผังเมือง ประกอบด้วย ผังอำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอสัตหีบ และอำเภอวังจันทร์ ส่วนผังเมืองที่เหลือ มีเป้าหมายดำเนินการให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งทยอยประกาศใช้ทั้งหมดภายในปี 2567

ด้านความสำคัญของการวางผังเมือง เนื่องด้วยการวางผังเมืองเป็นการจัดการใช้ประโยชน์พื้นที่ หรือโซนนิ่งให้มีความเหมาะสม เพื่อให้ทราบว่าพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัย หรือพื้นที่อุตสาหกรรมตั้งอยู่ที่ใดเป็นต้น ทั้งนี้หากไม่มีการวางผังเมือง จะส่งผลให้มีการตั้งถิ่นฐาน หรือมีการประกอบกิจการอย่างสะเปะสะปะ หรือไม่ตรงเป้าหมาย โดยจะไม่ส่งผลดีต่อสุขอนามัย รวมถึงการลงทุน ซึ่งทำให้ไม่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และมีค่าใช้จ่ายสูง

“จริงๆ แล้วเรื่องผังเมืองอยู่กับเรามาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าประเทศใดก็ตาม เพียงแต่ว่าไม่ได้มีการจัดทำเป็นหลักวิชาการ และเมื่อจัดทำเป็นหลักวิชาการแล้วเป็นข้อตกลงร่วมกันว่าจะสร้างที่อยู่อาศัย หรือประกอบกิจการที่ใด โดยจะเป็นเรื่องของกฎหมายเข้าบังคับใช้ ปัจจุบัน เราใช้พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562” คุณอนวัชกล่าว

โดยพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562 แบ่งผังออกเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย ผังนโยบายการใช้พื้นที่ และผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนขั้นตอนในการวางผังเมืองจะคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 เรื่องได้แก่ 1.นโยบายของภาครัฐ 2.วิชาการผังเมือง ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ทางกายภาพ และ 3.ความต้องการของประชาชนที่จะมีส่วนร่วมในการวางผังเมืองต่างๆ

สำหรับการเข้ามามีส่วนร่วมในการวางผังมืองของประชาชน กรมกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการตามกฎหมายจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ 1. การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยจะมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการปิดประกาศผังเมืองให้ดู หลังจากนั้นจะเชิญชวนให้ประชาชนมาประชุมร่วมกันเพื่อแสดงความคิดเห็น ต่อจากนั้นจะเป็นการนำความคิดเห็นของประชาชนมาบูรณาการเพื่อปรับผังเมืองในเบื้องต้น หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง และ 2. การนำผังเมืองซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการผังเมืองไปปิดประกาศเป็นเวลา 90 วัน เพื่อจะรับคำร้องจากผู้ที่มีส่วนได้เสียว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไร

“อย่างน้อยจะมีสองครั้งที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการวางผังเมืองตามกฎหมาย แต่จริงๆ แล้ว เราทำมากว่านั้น ซึ่งจะมีการประชุมกลุ่มย่อยต่างๆ อีกหลายกลุ่ม ก่อนที่จะมาถึงขั้นตอนการทำผังเมือง ปัจจุบันเราได้มีการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับทราบและมีเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความเห็นในการวางผังเมืองมากยิ่งขึ้น เช่น การประชุมของกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจะมีการจายผ่านช่องทาเสียงตามสายในแต่ละหมู่บ้าน เป็นต้น

รวมถึงการสื่อสารผ่านทางโซเชียลต่างๆ ซึ่งเราได้มีการทำ LINE Official โดยการสร้างข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ให้ประชาชนได้รับทราบ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ในปีนี้เรายังอยู่ระหว่างการจัดทำแอพพลิชัน land use Plan ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถตรวจสอบผังเมืองได้ว่า อาศัยอยู่ในโซนใดและพื้นที่สีใด เป็นต้น โดยจะมีการเปิดใช้งานในต้นปี 2565” คุณอนวัชกล่าว

คุณอนวัช กล่าวต่อถึงธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองว่า ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองได้ถูกกําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติเป็นผู้จัดทํา เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ ซึ่งมีบทบาทที่ครอบคลุม ทั้งในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยมีหลักการทั้งหมด 3 ด้าน คือ หลักการเชิงนโยบาย หลักการพื้นฐาน และหลักการเชิงพื้นที่  เพื่อให้ผังเมืองเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเมืองสู่ความยั่งยืน

ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการและเข้าไปรับฟังความคิดเห็นจำนวน 10 ครั้งในทุกกลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งส่วนกลางด้วย คาดว่าประมาณเดือนมกราคม 2565 จะมีผลบังคับใช้ โดยผลการบังคับใช้ของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองจะไม่มีผลกระทบต่อประชาชนแต่อย่างใด ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองเท่านั้น เปรียบเสมือนจริยธรรมในการดำเนินงาน

www.dpt.go.th

Page Visitor

013060117
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
17273
21722
53772
362631
505277
13060117
Your IP: 3.145.199.240
2024-12-24 18:40
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.