“ซีพี-เมจิ” คว้ารางวัลเกียรติยศ ตอกย้ำความสำเร็จการบริหารจัดการองค์กร
ซีพี-เมจิ รับรางวัล Thailand’s Best Managed Companies ประจำปี 2565 สะท้อนภาพองค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมเดินหน้า “เพิ่มคุณค่าชีวิต” ให้กับทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ด้วยวิสัยทัศน์หลัก 3 เรื่อง คือ มุ่งสู่องค์กรดิจิทัล สร้างนวัตกรรมแห่งแรงบันดาลใจ และดำเนินธุรกิจอย่างมีเสถียรภาพ
คุณสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด
คุณสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม และโยเกิร์ตพาสเจอไรซ์ ตรา “เมจิ” กล่าวถึงเบื้องหลังความสำเร็จ หลัง ซีพี-เมจิ ได้รับรางวัล Thailand’s Best Managed Companies ประจำปี 2565 จากดีลอยท์ องค์กรที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลก ว่า ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับบริษัทเอกชนชั้นนำของไทยที่ประสบความสำเร็จในด้านการบริหารจัดการ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวงการอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับรางวัลนี้ ได้มีการคัดเลือกองค์กรจากหลายกลุ่มธุรกิจ ซึ่งซีพี-เมจิเป็นบริษัทในอุตสาหกรรมนมเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับการคัดเลือก โดยผ่านกระบวนการประเมินผลที่น่าเชื่อถือ เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการของธุรกิจในด้านต่างๆ 4 หัวข้อ ประกอบด้วย 1.ด้านกลยุทธ์ 2.ด้านความสามารถและนวัตกรรม 3.ด้านวัฒนธรรมองค์กรและพันธสัญญา และ 4.การกำกับดูแลและการเงินขององค์กร
“ซีพี-เมจิ มีการวางแผนการบริหารธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทางของการประเมินอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ด้านกลยุทธ์ ที่เรามีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ในเรื่องความสามารถและนวัตกรรม เรามีกรอบและกระบวนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ ก็เป็นจุดเด่นของเรามาโดยตลอดอยู่แล้ว เห็นได้จากสินค้าใหม่ทั้งนมและโยเกิร์ตที่ซีพี-เมจิคิดค้นเป็นรายแรกในตลาด”
“สำหรับด้านวัฒนธรรมองค์กรและพันธสัญญานั้น พันธสัญญาที่ซีพี-เมจิยึดถือมาตลอดการทำธุรกิจกว่า 30 ปี คือ การส่งมอบคุณภาพที่ดีที่สุด ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ การผลิต จนถึงการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค เรื่องวัฒนธรรมองค์กรนั้น หลายปีที่ผ่านมาเราได้สร้างและปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งกับพนักงานทุกระดับ และด้านสุดท้าย คือ การกำกับดูแลและการเงินขององค์กร ซึ่งซีพี-เมจิเองมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงอยู่แล้ว ขณะที่ การกำกับดูแล เราปฏิบัติตามนโยบายเดียวกันกับ ซีพีเอฟ ที่เป็นบริษัทแม่” คุณสลิลรัตน์กล่าว
โดยการได้รับรางวัลในครั้งนี้นับเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ เพราะซีพี-เมจิได้ก้าวไปสู่การเป็นบริษัทที่อยู่ใน Global Standard ได้จริงๆ อีกทั้ง ยังถือเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สิ่งที่ซีพี-เมจิยึดมั่นและดำเนินการบริหารงานมานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สามารถนำพาองค์กรก้าวไปข้างหน้าได้ นอกจากนั้น ยังเป็นรางวัลที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่บริโภคสินค้าของแบรนด์
คุณสลิลรัต น์กล่าวต่อถึงการบริหารจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จในยุคโควิด-19 ว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นสภาวะที่ไม่มีใครเคยเจอ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมากซีพี-เมจิเองก็ได้ใช้ 3 แนวทางในการบริหารจัดการองค์กร คือ 1.ปรับตัวและยืดหยุ่น ส่วนการผลิตต้องเปลี่ยนการจัดการทั้งหมด ให้สอดคล้องกับมาตรการด้านสาธารณสุขและความปลอดภัยของภาครัฐ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยบริษัททำการสื่อสารที่ละเอียดและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจกับพนักงานจำนวนมาก รวมถึงให้การดูแล และอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเป็นอย่างดี พร้อมทั้ง พูดคุยเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และการแก้ปัญหากันทุกสัปดาห์
2. การดูแล Ecosystem เพราะผลกระทบจากช่วงโควิด-19 ไม่ได้เกิดขึ้นกับซีพี-เมจิเท่านั้น แต่กระทบทุกส่วน ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ดังนั้นบริษัทต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรที่ส่งนมให้ คู่ค้าทุกกลุ่ม ทำอย่างไรให้ส่งของได้ไม่สะดุด และมีของให้ผู้บริโภคไม่ขาด นอกจากนั้น บริษัทยังให้ความช่วยเหลือประชาชนในชุมชนรอบรั้วโรงงานด้วย จึงต้องเข้าไปพูดคุยกับทางคู่ค้าทุกกลุ่มว่าจะทำ อย่างไรให้เขาสามารถส่งของไปยังผู้บริโภคได้ เพราะต้องรู้ก่อนว่าเขาต้องการอะไร และเข้าไปให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ ขณะเดียวกัน ยังได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนรอบข้างอีกด้วย
3. ดูแลพนักงาน สุขภาพและความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ ซีพี-เมจิให้ความสำคัญที่สุด เริ่มจากมีการจัดการในโรงงานค่อนข้างเข้มข้น เช่น แบ่งพนักงานเป็นกลุ่มย่อย (Small Modular) จัดตารางเวลาทำงานใหม่ ดูแลเรื่องการได้รับวัคซีน รวมถึง การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและให้กำลังใจพนักงานอยู่ตลอดเวลา
คุณสลิลรัตน์ กล่าวต่อว่า สำหรับแผนงานในอนาคตนั้น ต้องย้อนไปที่รูปแบบการบริหารจัดการที่ได้มีการปรับเปลี่ยนในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนั้นจึงกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ “ซีพี-เมจิ จะเป็นบริษัทด้านผลิตภัณฑ์นม ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อการสร้างนวัตกรรมที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ และดำเนินธุรกิจอย่างมีเสถียรภาพ”
โดยมี 3 มิติหลักที่ต้องมุ่งผลักดันเพื่อไปถึงวิสัยทัศน์ คือ Digitization ซีพี-เมจิ จะนำเครื่องมือด้านดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานขององค์กรให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทำให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น ระบบ Automation ต่างๆ
ลำดับถัดมา คือ Innovation นวัตกรรม ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งซีพี-เมจิ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 คนตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อซีพี-เมจิ เพราะผลิตภัณฑ์ของบริษัทมุ่งเน้นประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่แล้ว สุดท้าย คือ การสร้างเสถียรภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ซีพี-เมจิ ยังสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นได้ในทุกๆ ปี พร้อมทั้ง ดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง
“เรามีการกำหนดกลยุทธ์หลักเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์ เริ่มจากการเติบโตและนวัตกรรม (Growth & Innovation) เราสร้างการเติบโตโดยเริ่มจากพัฒนานวัตกรรมที่มีประโยชน์จับต้องได้สำหรับคนทุกเพศทุกวัย สำหรับผู้บริโภคทั้ง B2C และ B2B ทั้งในและต่างประเทศ ด้านต่อมา คือ Integrated Supply-chain เราจะเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Data ต้องทำให้ข้อมูลนั้นจับต้องได้ และอยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน ด้านคุณภาพและความปลอดภัย (Quality & Safety) เป็นหัวใจสำคัญ เราจะไม่หยุดนิ่งในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาผสานกับเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม
สำหรับด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability เรากำหนดนโยบายและวางแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนอย่างจริงจังตลอดห่วงโซ่คุณค่า และสุดท้าย คือ เรื่องคน (People) เราต้องพัฒนาศักยภาพของคน และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน” คุณสลิลรัตน์กล่าว
โดยทั้งหมดนี้คือบทพิสูจน์ ขององค์กรยอดเยี่ยมบนเวที รางวัล Thailand’s Best Managed Companies ประจำปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งซีพี-เมจิ บริษัทที่การันตีคุณภาพครบครันด้วยความไว้วางใจของผู้บริโภคและยอดขายที่แตะหมื่นล้านบาท และการขยายตลาดไปยังอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเส้นทางแห่งการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน