May 03, 2024

“CAAT” ลุยแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการบินไทยสู่ความยั่งยืน

“CAAT” ลุยแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการบินไทยสู่ความยั่งยืน

CAAT เดินหน้าแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก พร้อมเผยทิศทางการดำเนินงานปี 2563 เน้นส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินพลเรือนในทุกมิติ ขับเคลื่อนการบินพลเรือนของไทยและองค์กร ยกระดับอุตสาหกรรมการบินตามวิสัยทัศน์ มาตรฐานสู่ความยั่งยืน : Standard toward Sustainability”

ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT

ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT กล่าวว่า CAAT ได้วางยุทธศาสตร์เชิงรุกปี 2562-2565 เพื่อให้ทิศทางและการปฏิบัติงานขององค์กรสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนสามารถขับเคลื่อนการกำกับดูแลให้การบินพลเรือนของไทยเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบินเติบโตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยุทธศาสตร์ที่ CAAT ได้วางไว้ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดให้มีและพัฒนาระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล พร้อมรับการตรวจประเมิน และยกระดับมาตรฐานให้สอดคล้องกับ ICAO

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การนำกลไกการกำกับดูแลไปบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการออกใบอนุญาต การตรวจติดตามมาตรฐานการกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ และการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมการบินที่ยั่งยืน ทั้งในด้านความสามารถในการแข่งขัน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการไทย ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนขององค์กร ด้วยการเป็นองค์กรที่มีธรรมภิบาล บริหารทรัพยากร บุคคลให้ตรงตามความต้องการขององค์กร มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน ให้มีความเป็นสากล และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นศูนย์กลางข้อมูล และองค์ความรู้ด้านการบินเพื่อสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม

ดร.จุฬา กล่าวต่อว่า การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ “มาตรฐานสู่ความยั่งยืน : Standard toward Sustainability” ซึ่งแผนการดำเนินงานในปี 2563 นี้ CAAT ได้มีการยกระดับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร สำหรับภายในองค์กรจะมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนขององค์กร ด้วยการสร้างค่านิยมหลักภายในองค์กร (Core Value) เพื่อให้บุคลากรยึดมั่น และเป็นแนวทางการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่านิยมหลัก คือ การพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ความหนักแน่นที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Integrity) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Accountability) การทำงานร่วมกันเป็นทีม (Teamwork) ความเคารพซึ่งกันและกัน (Respect) และความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust)

ในส่วนของงานภายนอกองค์กรจะมุ่งเน้นงานด้านกำกับดูแลการบินพลเรือน และด้านส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน โดยจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1. การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในอนาคต อาทิ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) การให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ (Helicopter Emergency Medical Service : HEMS) รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน และแผนนิรภัยการบิน หรือการบริหารความปลอดภัยด้านการบิน 2. การกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการสายการบิน เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ และอำนาจของ CAAT ในการกำกับดูแลทางเศรษฐกิจตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศฉบับใหม่

และ 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่อุปทานในการบินของไทย ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพการให้บริการ องค์ความรู้ และการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การตรวจรับรองมาตรฐานผู้ประกอบการการซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน รวมถึงการส่งเสริมกิจการการซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการบินของไทย เช่น การอนุญาตให้ผู้ประกอบการชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้มากกว่าร้อยละ 49 เป็นต้น

ดร.จุฬา กล่าวอีกว่า แผนการดำเนินงานในปีนี้ CAAT มีเรื่องที่เป็นไฮไลท์อยู่ 2 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 การกำกับดูแลการใช้อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เพื่อรองรับการเติบโตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีของโดรนมีความก้าวหน้าอย่างมากประกอบกับมีราคาถูกลง จึงมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการบินพลเรือน แต่ในทางกลับกันความเสี่ยงในด้านต่างๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัยต่อชุมชน และการปฏิบัติการบินของสายการบินพาณิชย์ ด้านความมั่นคง และความเป็นส่วนตัวของประชาชน

ด้วยเหตุนี้ CAAT จึงได้วางแผนให้มีข้อกำหนดเรื่องใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่นักบินอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAS license เพิ่มเติมจากประกาศผู้ควบคุมโดรนเดิมให้มีมาตรฐานเป็นไปตามข้อกำหนดของ ICAO นอกจากนี้ จะมีโรงเรียนสอนการใช้โดรนที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้การออกใบอนุญาตนักบินโดรน ที่เป็นเหมือนใบเบิกทางให้อุตสาหกรรมการบินโดรนของประเทศไทย ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการบินโดรนอย่างมืออาชีพและเพื่อการพาณิชย์ที่จะได้รับใบอนุญาตโดรนนี้ ต้องได้รับการอบรมที่ถูกต้องจากสถาบันที่มีมาตรฐานทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดย CAAT จะร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ DTI ในการพิจารณาหลักสูตรการอบรมต่างๆ

ส่วนแผนที่เป็นไฮไลท์เรื่องที่ 2 คือการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์หรือ HEMS เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดย CAAT ได้อนุญาตให้เฮลิคอปเตอร์ขนส่งผู้ป่วยสามารถจอดที่นอกเหนือจากสนามบินได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เนื่องจากเห็นว่าระยะเวลาในการขนส่งผู้ป่วย 1 ชั่วโมงถือเป็น Golden Hour ที่มีค่า ซึ่งในส่วนนี้ CAAT ได้มีการร่วมมือกับสถาบันการแพยท์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ในการผสานการขนส่งทั้งทางอากาศ ทางบก และทางเรือ เพื่อที่จะรักษาชีวิตผู้คนได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินประเภทเฮลิคอปเตอร์ และนักบินเฮลิคอปเตอร์มากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตามจากแผนงานดังกล่าว ไม่ว่าจะในด้านกำกับดูแลการบินพลเรือน และด้านส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน CAAT มั่นใจว่าจะสามารถช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยให้มีความเป็นมาตรฐานสากล อีกทั้งจะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับผู้ประกอบการจากนานาประเทศได้อย่างทัดเทียม ในสภาวะการแข่งขันที่สูง เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของ CAAT ที่ว่า “มาตรฐานสู่ความยั่งยืน”

“เป็นที่รู้ๆ กันว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่างๆ เป็นวงกว้างไปทั่วโลก ซึ่งอุตสาหกรรมด้านการบินของเราก็ได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน ถึงขั้นไม่สามารถเปิดให้บริการได้ แต่ด้วยมาตรการรับมือต่างๆ ของไทยเราดีและเข้มงวด และเริ่มที่จะควบคุมได้ ทำให้สายการบินต่างๆ สามารถกลับมาเปิดได้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ภายใต้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดสำหรับผู้โดยสาร 11 ประเภทและทุกสายการบินที่เปิดให้บริการ ทั้งนี้ เราได้คาดการณ์แนวโน้มผู้โดยสารในปี 2563 ไว้ว่าจะลดลงจากปีก่อน 60% แต่หลังจากนั้นทุกอย่างคงจะฟื้นตัวกลับมาดีขึ้น และเรา CAAT ก็จะเดินหน้าดำเนินงานตามแผนและยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ต่อไป” ดร.จุฬากล่าวทิ้งท้าย

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 17 July 2022 11:23
BizFocus

Selfies labore, leggings cupidatat sunt taxidermy umami fanny pack typewriter hoodie art party voluptate. Listicle meditation paleo, drinking vinegar sint direct trade.

www.themewinter.com

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.

Page Visitor

010670353
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
7263
5367
33051
17069
147900
10670353
Your IP: 3.21.76.0
2024-05-03 09:49
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.