December 22, 2024
01Top_Nine-Plus

Biz Focus Industry Issue 017, June 2014

User Rating: 2 / 5

Star ActiveStar ActiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

นิคมอุตฯ สหรัตนนครเปิดแผนการดำเนินงาน เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการ-นักลงทุน

นิคมอุตฯ สหรัตนนคร เดินแผนเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและดึงดูดนักลงทุนรายใหม่ ลุยสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมบวกพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ด้วยงบลงทุนประมาณ 560ล้านบาท คาดปีนี้มียอดขายที่ดิน 10%จากพื้นที่ว่าง 360 ไร่

คุณเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร

          คุณเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร เปิดเผยเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการในปีนี้ว่าประกอบด้วย 1. การสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ขนาดความสูง 8.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2557 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการและดึงดูดนักลงทุนรายใหม่ให้เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร

2. การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยจะปรับปรุงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้งในด้านทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อม สำหรับอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนใหม่ จะเน้นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

“เราจะใช้งบประมาณในส่วนของการสร้างเขื่อนกั้นน้ำและพัฒนาสาธารณูปโภค ประมาณ 560 ล้านบาท นอกจากนี้เรายังได้ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เข้ามาสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยใหม่แทนที่ระบบเก่าที่ค่อนข้างมีปัญหาทำให้เกิดไฟฟ้าดับบ่อย ซึ่งจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน” คุณเริงฤทธิ์กล่าว

          คุณเริงฤทธิ์ กล่าวต่อว่าปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครมีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,441 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เขตทั่วไปกว่า 800 ไร่ เขตของพาณิชยกรรมที่พักอาศัยอยู่ประมาณกว่า 30 ไร่และพื้นที่สาธารณูปโภคกว่า 500 ไร่ มีผู้ประกอบการประมาณ 30 ราย ทั้งชาวไทยและต่างชาติในสัดส่วน 60 : 40 มีการลงทุนประมาณ 6,700 ล้านบาท มีแรงงานประมาณ 9,700 คน

ขณะนี้มีพื้นที่ว่างที่พัฒนาเรียบร้อยแล้วและพร้อมที่จะขายประมาณ 360 ไร่ คาดว่าในปีนี้จะมียอดขายประมาณ 10% หรือจะมีนักลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 2-3 ราย โดยขณะนี้มีลูกค้าสนใจหลายราย ทั้งนี้หากการก่อสร้างเขื่อนเสร็จจะทำให้การตัดสินใจของนักลงทุนง่ายมากขึ้น

ด้านหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการให้เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครคือจะเน้นอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมหนัก เน้นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ โรงงานประกอบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ไม่ก่อมลพิษเยอะ อุตสาหกรรมอาหารที่ไม่ใช่การแปรรูปอาหารทะเล อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เป็นต้น โดยปกติทางนิคมอุตฯ จะมีเกณฑ์คัดเลือกอยู่แล้ว

          คุณเริงฤทธิ์ กล่าวต่อถึงจุดเด่นของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนครที่ดึงดูดใจนักลงทุนว่า โดยหลักๆ แล้วคือพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับนักลงทุนขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้พื้นที่ 100 ไร่หรือ 10-20 ไร่ได้เป็นอย่างดีในทุกๆ ด้าน เนื่องจากในปัจจุบัน การก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่นอกนิคมอุตสาหกรรมค่อนข้างดำเนินการได้ยาก

นอกจากนี้ยังสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการหรือนักลงทุนที่ต้องการพื้นที่ที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดีเพราะมีทำเลที่ตั้งห่างกรุงเทพฯ ประมาณ 100 กิโลเมตรโดยสามารถขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือและสนามบินสุวรรณภูมิได้ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้น รวมทั้งผู้ประกอบที่มีความต้องการที่ขนส่งสินค้าไปยังภาคเหนืออีกด้วย

ด้านกลยุทธ์ที่จะช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งทั้งในปัจจุบันและอนาคตนั้น ปัจจุบันทางนิคมอุตฯ ได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นจุดเด่นอีกด้านหนึ่งของนิคมอุตฯ ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมอุตฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดูแลและใส่ใจชุมชนรอบข้าง ซึ่งเป็นนโยบายของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว

“เราไม่ได้ประกอบอุตสาหกรรมโดยไม่ได้ดูแลชุมชนโดยรอบ เรามีโครงการที่เข้าไปส่งเสริมดูแลชุมชนโดยรอบเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นธีมของการนิคมอุตสาหกรรมอยู่แล้ว เท่าที่ลงพื้นที่ชุมชนโดยรอบเราก็ไม่ได้มีปัญหา เราดูแลชุมชน ดูแลแหล่งที่จะก่อให้เกิดมลพิษต่างๆ ให้อยู่ในมาตรฐานที่สามารถควบคุมได้ ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ปัญหาร้องเรียนแทบจะไม่มี ถ้ามีโรงงานขึ้นใหม่ชุมชนโดยรอบก็จะได้รับผลประโยชน์ไปด้วย” คุณเริงฤทธิ์กล่าว

ส่วนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านนี้มานานแล้ว เพราะในนิคมอุตฯ มีผู้ประกอบการเป็นชาวต่างชาติหลายราย อาทิ ญี่ปุ่น เนเธอแลนด์ เป็นต้นประกอบกับในนิคมอุตสาหกรรมชาวต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้

          คุณเริงฤทธิ์ กล่าวต่อถึงสิ่งที่อยากให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนคือระบบโลจิสติกส์ ซึ่งนับเป็นตัวแปรสำคัญที่เป็นต้นทุนหลักในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะมีเส้นทางที่ตัดเข้ามาเพื่อเชื่อมโยงสนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือแหลมฉบัง ในอนาคตหากภาครัฐสามารถพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้สะดวกมากยิ่งขึ้นและง่ายต่อการขนส่งสินค้าคาดว่าจะสามารถดึงดูดนักลงุทนให้เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครได้อีกเป็นจำนวนมาก

สำหรับสิ่งที่อยากฝากถึงผู้ประกอบการและนักลงทุนรายใหม่คุณเริงฤทธิ์กล่าวว่านิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครเป็นนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ในเรื่องการให้บริการและความมั่นคง เนื่องจากการนิคมอุตสาหกรรมจะดูแลนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครให้อยู่ในเกณฑ์ทั้งในเรื่องของระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบสาธารณูปโภค   

 

 

 

Page Visitor

013013135
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
6790
14397
113670
315649
505277
13013135
Your IP: 3.141.25.125
2024-12-22 11:35
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.