October 16, 2024

Editor's Note June 2024

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

          หนี้ครัวเรือน ยังคงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสังคมไทย โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือ ในช่วงที่เกิดการว่างงาน และรายรับลดลง ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน โดยหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 89.3% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) คิดเป็นมูลค่า 14.97 ล้านล้านบาท

          สำหรับในปี 2566 ที่ผ่านมา ตัวเลขหนี้ครัวเรือนได้ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาส 4 ปี 2566 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ระบุว่า มีมูลค่า 16.4 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.0% ชะลอลงจาก 3.4% ของไตรมาส 3 ปี 2566  สำหรับหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มการขยายตัวที่ชะลอลง ผลส่วนหนึ่งมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ทำให้หนี้ครัวเรือนที่ก่อขึ้นใหม่มีการปรับตัวลดลง

          ขณะที่ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) อยู่ที่ 91.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนขยายตัวชะลอลงเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวอย่างมากที่ 3.5% เพิ่มขึ้นจาก 1.9% ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนสินเชื่อยานยนต์หดตัว -0.6% จากที่ขยายตัว 0.2% ในไตรมาสก่อนหน้า

          ด้านคุณภาพสินเชื่อ โดยความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนด้อยลงทุกประเภท หนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ มีมูลค่า 1.58 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.88% ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจาก 2.79% ในไตรมาสก่อน โดยคุณภาพสินเชื่อทุกประเภทมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของรายได้ที่ยังไม่ทั่วถึง

          โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 3.34% จาก 3.24% ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับสินเชื่อที่ครัวเรือนใช้เสริมสภาพคล่อง คือ สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยสินเชื่อบัตรเครดิตมีสัดส่วนหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 17.5% จาก 13.6% ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ สินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนหนี้เสียที่ชะลอตัวลงเหลือ 12.7% จาก 27.3% ในไตรมาสก่อนหน้า

          หนี้ครัวเรือน หมายถึง หนี้เงินกู้ส่วนบุคคลที่กู้ยืมจากสถาบันการเงิน และบุคคลอื่นนอกครัวเรือน เช่น หนี้เช่าซื้อ, การซื้อสินค้าเงินผ่อน และการซื้อเชื่อสินค้าจากร้านค้า เป็นต้น ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าการที่จะทำให้หนี้ครัวเรือนกลับมาอยู่ในระดับ 80% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อาจจะทำได้ไม่ง่าย เนื่องจากเศรษฐกิจไทยจะต้องมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

          อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวทางการรับมือกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในช่วงขาขึ้นในขณะนี้ ซึ่งเราทุกคนสามารถดำเนินการได้อย่างง่ายๆ ได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การมีวินัยทางการเงิน โดยการจำกัดงบประมาณในการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การจดบันทึกรายรับและรายจ่ายทุกรายการ, การสร้างรายได้เพิ่ม, การลดค่าใช้จ่ายในบ้านที่ไม่จำเป็น และการจ่ายหนี้บัตรเครดิตตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น

          ปิดท้ายฉบับนี้กับวิสัยทัศน์ “คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประกาศขับเคลื่อนภารกิจวาระสอง มุ่งสู่อุตฯ แห่งอนาคต (Next-GEN Industries) บวกยกระดับ SMEs สู่ Smart SMEs ด้วยนโยบาย 3+1 Go หนุนก้าวพ้นปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ ประเมินภาพรวมอุตฯ ไทยปี 2567 โตเพิ่ม 10% จากปีก่อนหน้า พร้อมเปิดโผอุตฯ ดาวเด่น “ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ” ครองอันดับหนึ่ง ตามติดด้วย “อุตฯ เครื่องปรับอากาศ และอุตฯ ท่องเที่ยว”

Page Visitor

011938955
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
6890
22780
64385
178991
209955
11938955
Your IP: 18.224.62.233
2024-10-16 08:51
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.