ลอตเต้ เปิดตัว ”ป๊อป นาว (POP NOW)” รุกตลาดช็อกโกแลต
ลอตเต้ ปักธงบุกตลาดช็อกโกแลตเต็มพิกัด ส่งป๊อป นาว (POP NOW) ช็อกโกแลตแท้เข้มข้น สอดไส้ธัญพืชอบกรอบ ลงสมรภูมิ ปลื้มกระแสตอบรับดี ตั้งเป้าครองใจผู้บริโภคเทียบเท่าโคอะลา มาร์ช บวกปูพรมจำหน่ายในเซเว่นครบทุกสาขา-ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ พร้อมเดินหน้าแผนการตลาด 360 องศา สร้างการรับรู้-เสริมแกร่งผลิตภัณฑ์ป๊อป นาว (POP NOW)
คุณซะดาฟูมิ มัตสุชิตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยลอตเต้ จำกัด กล่าวว่า ไทยลอตเต้ก่อตั้งเมื่อปี 1988 โดยสินค้าแรกเริ่มต้นจากกลุ่มสินค้าหมากฝรั่ง ถัดมาคือ สินค้ากลุ่มบิสกิต ได้แก่ โคอะลา มาร์ช และท็อปโป โดยเป็นกลุ่มสินค้าที่ค่อนข้างโดดเด่นและได้รับความนิยมจากลูกค้า ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ประกอบกับ มีกำลังการผลิตที่เพียงพอ สามารถนำมาผสมกลมกลืนกันระหว่างกลุ่มสินค้าบิสกิตและช็อกโกแลต บริษัทจึงมองเห็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดสินค้าช็อกโกแลต จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวสินค้าใหม่ล่าสุด ป๊อป นาว (POP NOW) ช็อกโกแลตแท้เข้มข้น สอดไส้ธัญพืชอบกรอบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “แฮปปี้…แฮฟป๊อป นาว”
โดยช็อกโกแลต ป๊อป นาว (POP NOW) ได้เริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ในร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น ราคาจำหน่ายซองละ 25 บาท ขนาด 30 กรัม 2 รสชาติ “ครั้นช์ ช็อกโกแลต และบิทเทอร์ ช็อกโกแลต” โดยได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นอย่างดี ทั้งนี้ บริษัทคาดหวังว่าช็อกโกแลต ป๊อป นาว (POP NOW) จะเป็นสินค้าที่อยู่ในตลาดและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคตลอดไป พร้อมทั้ง สร้างการรับรู้ให้เทียบเท่ากับโคอะลา มาร์ช ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่รู้จักดีของทุกๆ คน โดยผ่านแผนการลงทุนทางการตลาดต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทคาดหวังว่าในอนาคตช็อกโกแลต ป๊อป นาว (POP NOW ) 2 รสชาติ จะวางจำหน่ายได้ครบทุกแห่งในเซเว่น อีเลฟเว่นที่มีอยู่กว่า 14,000 สาขาในปัจจุบัน
“ลอตเต้ ญี่ปุ่นก่อตั้งในปี 1948 มีประสบการณ์ในการทำสินค้าประเภทช็อกโกแลตมาตั้งแต่ปี 1964 เรามีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งด้านวัสดุ สูตร อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ในกระบวนการที่จะเลือกสินค้าที่นำมาขาย เราค่อนข้างที่จะให้ความใส่ใจ และมีความรอบคอบที่จะเลือกสินค้าออกสู่ตลาดอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น เราจึงมีความมั่นใจที่จะรุกตลาดของช็อกโกแลต ป๊อป นาว (POP NOW ) ในครั้งนี้ ด้วยคุณภาพสินค้าเทียบเท่ากับมาตรฐานช็อกโกแลตญี่ปุ่น ราคาสินค้าที่ความเหมาะสม ผู้บริโภคจับต้องได้” คุณซะดาฟูมิ มัตสุชิตะกล่าว
ทั้งนี้ ช็อกโกแลต ป๊อป นาว (POP NOW) ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถรับประทานได้ทุกที่และทุกเวลา โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกเพศ และทุกวัย แต่เนื่องด้วยความกรุบกรอบของพัฟ ความเข้มข้นของช็อกโกแลต ขนาดของสินค้าที่พอเหมาะสามารถพกพาไปได้ในทุกที่ ทำให้ผู้บริโภคสามารถทานได้ทุกที่ทุกเวลา จึงตอบโจทย์พนักงานออฟฟิตและกลุ่มนักศึกษาหรือผู้ที่มองหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี โดยบริษัทหวังว่าผลิตภัณฑ์ป๊อป นาวจะช่วยผ่อนคลายความเครียด ส่งผลดีต่อจิตใจ และช่วยในการตื่นตัวของร่างกาย เป็นต้น
“เมื่อผู้บริโภครับประทานช็อกโกแลต ป๊อป นาว (POP NOW) จะได้รสสัมผัสกับความกรุบกรอบจากธัญพืชอบกรอบรอบ 2 ชั้น ผสานกับความเข้มข้นของช็อกโกแลตแท้ระดับพรีเมียม ด้วยคุณภาพสินค้าที่ดี ประกอบกับขนาดที่พกพาไปได้ในทุกที่ที่ต้องการ ทำให้รับประทานทานได้ตลอดเวลา ทั้ง 2 รสชาติ “ครั้นช์ ช็อกโกแลต และบิทเทอร์ ช็อกโกแลต”
ดังนั้นจึงสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก คือ คนทำงานออฟฟิศ ในช่วงเวลารีบเร่ง หรือ การทำงานยุ่งเหยิง โดยจะได้รับรสชาติความอร่อย ซึ่งแต่ละชิ้นมีขนาดพอดีคำ เคลือบด้วยเชลแล็กเพิ่มความมันเงาให้ช็อกโกแลตดูน่ารับประทาน พร้อมช่วยคงรูปให้ไม่ละลายติดกัน ป้องกันมือไม่ให้เลอะเทอะ ทำให้ผู้ที่รับประทานมีความสุข ได้รับความสดใส รวมทั้ง การรีเล็กซ์จากความเครียดต่างๆ ตามคอนเซ็ปต์ “แฮปปี้…แฮฟป๊อบ นาว” ทั้งยังทางได้ทุกที่ ทุกเวลา คุณซะดาฟูมิ มัตสุชิตะกล่าว
ด้านกลยุทธ์ทางการตลาดและแผนการโปรโมทช็อกโกแลต ป๊อป นาว (POP NOW) บริษัทได้วางแนวทางไว้ดังนี้ โดย Step แรก คือ การสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งนอกเหนือจากการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และการเปิดตัวพรีเซนเตอร์ “ไบร์ท” นรภัทร วิไลพันธ์ แล้ว บริษัทยังได้มีการประชาสัมพันธ์สินค้าในทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง TVC (Television Commercial) ไม่ว่าจะเป็น ช่อง 3, ช่อง 7, ช่อง ONE, รายการในช่องยูทูบ, และรายการข่าวต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ OOH บนสถานีรถไฟฟ้า อาทิ Train Wrap, โฆษณาผ่านจอ Digital screen บนสถานีบีทีเอส และจอ LCD ในขบวนรถไฟฟ้าและการ เป็นต้น
ส่วน Step ถัดไป จะเริ่มดำเนินการในปี 2567 คือ การเดินทรูปและการจัดบูธชงชิมในทำเลที่ที่มีผู้คนสัญจรเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น บริเวณพื้นที่ MRT, BTS, อาคารสำนักงาน, ตลาดนัดใกล้สำนักงาน, เซเว่น อีเลฟเว่น รวมถึง สถานศึกษาต่างๆ เป็นต้น
ขณะที่ Step ต่อเนื่อง คือ การจัดโปรโมชันร่วมกับร้านค้าต่างๆ ในปัจจุบันได้ดำเนินการ่วมกับเซเว่น อีเลฟเว่น โดยในปี 2567 จะขยายให้เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น บิ๊กซี, ท็อป ซุปเปอร์มาเก็ต และห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ รวมถึง การทำดิจิทัล ดิสเพลย์ต่างๆ ในช่องทางการขาย ซึ่งจะเป็นทำการตลาดแบบ 360 องศา เพื่อให้ตอบโจทย์การตลาดในทุกด้าน และสนับสนุนเป้าหมายเพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดช็อกโกแลตที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือดในขณะนี้ โดยข้อมูลของบริษัทสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.lotte.co.th/
คุณซะดาฟูมิ มัตสุชิตะกล่าวในตอนท้ายว่า ในภาพรวมอยากให้ภาครัฐมีนโยบายในการควบคุมวัตถุดิบที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมอาหารอย่างมีศักยภาพ เนื่องจาก วัตถุดิบถือเป็นหัวใจหลักในการผลิตสินค้า และเป็นตัวแปรที่สำคัญในการควบคุมต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ หากภาครัฐสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ขณะที่ นโยบายในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ และอื่นๆ ภาครัฐดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว