May 02, 2024

Editor's Note February 2024

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

      ในปี 2567 ภาคการส่งออกยังคงมีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกับทุกๆ ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกของไทยในช่วงก่อนหน้านี้เติบโตค่อนข้างช้า ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทั้งในและภายนอกประเทศ รวมถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ก่อให้เกิดภาวะชงักงัน และชะลอตัว ทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยติดลบต่อเนื่องกันหลายปี

          สำหรับการส่งออกตลอดทั้งปี 2566 (มกราคม-ธันวาคม) กระทรวงพาณิชย์ระบุว่ามีมูลค่า 284,561.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 1% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 9,809,007.7 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 289,533.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 3.1% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 10,111,448.4 ล้านบาท ขาดดุลการค้า มูลค่า 5,192.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 302,925.9 ล้านบาท

          อย่างไรก็ตาม การส่งออกตลอดทั้งปี 2566 ที่ติดลบ 1% ถือเป็นตัวเลขน้อยกว่าที่หลายๆ หน่วยงานเศรษฐกิจคาดว่าจะติดลบที่ 2% ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันอัดกิจกรรมการส่งออก เพื่อผลักดันให้ภาพรวมการส่งออกติดลบน้อยที่สุด

          นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค ถือว่าการส่งออกไทยติดลบน้อยสุดที่ 1% ขณะที่ เวียดนามติดลบ 4.8% มาเลเซียติดลบ 11.1% จีนติดลบ 4.6% อินโดนีเซียติดลบ11.3% เกาหลีใต้ติดลบ 7.5% และญี่ปุ่นติดลบ 3.9% เป็นต้น

ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าการส่งออกในปี 2567 เติบโตเป็นบวกที่ 1-2% หรือคิดเป็นมูลค่า 280,000-290,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10 ล้านล้านบาท โดยมีปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพมากขึ้น แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่บรรเทาลง

ประกอบกับการสิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินตึงตัวของประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลดีต่อปริมาณการค้าโลกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้ง ยังมีแรงหนุนจากการสำรองสินค้าเกษตรและอาหารตามความมั่งคงทางอาหาร และการฟื้นตัวของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก

          ด้านปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในปี 2567 ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด คือ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะปัญหาการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดงที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการส่งออก และนำเข้าสินค้าไทย ผลกระทบจากภัยแล้งทั่วโลก และเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ขณะเดียวกัน ปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวสูงยังกดดันการลงทุนใหม่ของภาคเอกชนอีกด้วย

          ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ มีแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกมากกว่า 400 กิจกรรมในประเทศต่างๆ ทั้งการบุกตลาดเมืองรอง และการขับเคลื่อนการเจรจา FTA ภายใต้นโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุกของรัฐบาล ซึ่งได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อผลักดันการส่งออกไทยให้เติบโตเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต่อไป

          ปิดท้ายฉบับนี้กับวิสัยทัศน์ “คุณธานัท โตทัพ ประธานกรรมการ บริษัท บลูฟาโล่ เพ็ทแคร์ จำกัด” เตรียมรับการเติบโตธุรกิจอาหารสัตว์ปี 67 หลังขยายโรงงานแห่งที่ 2 เพิ่มกำลังการผลิตถึง 20,000 ตันต่อเดือน คาดหากเป็นไปตามเป้า 5 ปี มีแพลนขยายเพิ่มอีก 1 แห่ง พร้อมดันกลยุทธ์ สร้างการรับรู้ 3 แบรนด์ BOK DOK, Catty Cat และ Tony ดึงจุดเด่นด้านนโยบายผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพ ในราคาถูก ออกไปให้คนเลี้ยงสัตว์ใช้

 

Page Visitor

010660956
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
3233
4439
23654
7672
147900
10660956
Your IP: 13.59.100.42
2024-05-02 12:35
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.