Biz Focus Magazine เป็นนิตยสารรายเดือนที่ร่วมส่งเสริมนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งในและต่างประเทศ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างภาครัฐ - เอกชน และนักลงทุน
+(662) 399-1388
editor@bizfocusmagazine.com
เคาะ ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับตัวเลขค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) รอบสุดท้ายของปีนี้ หรือ งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 โดยอยู่ที่ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย เท่ากับงวดก่อนหน้านี้ ซึ่งสร้างความโล่งใจให้กับคนใช้ไฟฟ้าทั่วทั้งประเทศ
ปัญหา ค่าไฟฟ้าราคาแพง โดยมีการปรับเพิ่มขึ้นมาก่อนหน้านี้ และลากยาวต่อเนื่องมาจนถึงปี 2567 ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยลบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือน ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง จะทำให้ภาระหนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นได้ ขณะเดียวกัน ยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน เนื่องจาก ค่าไฟฟ้า ถือเป็นหนึ่งในต้นทุนสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิต ยิ่งไปกว่านั้น ยังกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอีกด้วย
ราคา พลังงานเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ ก๊าซ LPG ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน ซึ่งจะทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้นท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัว ขณะเดียวกัน ยังถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การลงทุน จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึง การลงทุนจากต่างประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างแข็งแกร่งและมีศักยภาพ ท่ามกลางปัญหา หรือ อุปสรรคที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ทั้งนี้ มาตรการส่งเสริมการลงทุนจึงนับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญทางเศรษฐกิจที่จะช่วยกระตุ้น และดึงดูดผู้ประกอบการให้ตัดสินใจเดินหน้าลงทุนในโครงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
หนี้ครัวเรือน ยังคงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสังคมไทย โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือ ในช่วงที่เกิดการว่างงาน และรายรับลดลง ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน โดยหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 89.3% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) คิดเป็นมูลค่า 14.97 ล้านล้านบาท
ในปี 2567 ภาคการส่งออกยังคงมีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกับทุกๆ ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกของไทยในช่วงก่อนหน้านี้เติบโตค่อนข้างช้า ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทั้งในและภายนอกประเทศ รวมถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ก่อให้เกิดภาวะชงักงัน และชะลอตัว ทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยติดลบต่อเนื่องกันหลายปี
ความผันผวน ของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทั้งราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซล นับเป็นปัจจัยลบสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน โดยราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30 บาทต่อลิตรในขณะนี้ มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการภาคการขนส่งหรือ โลจิสติกส์ รวมทั้ง ยังทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มมากขึ้น จากการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเดินทาง และการประกอบอาชีพ เป็นต้น
ปี 2567 ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก และมีแนวโน้มดีกว่าปี 2566 ที่ผ่านมา โดยจะได้รับการสนับสนุนหลักจากการภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี การส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัวเป็นบวก เงินเฟ้อมีสัญญาณชะลอตัว และรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น