
Biz Focus Magazine เป็นนิตยสารรายเดือนที่ร่วมส่งเสริมนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งในและต่างประเทศ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างภาครัฐ - เอกชน และนักลงทุน
+(662) 399-1388
editor@bizfocusmagazine.com
YUASA ครองแชมป์ผู้นำตลาดแบตเตอรี่ในไทย
พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนระดับโลก
บมจ.ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย (YUASA) ภายใต้การบริหารของ “คุณสึเนะโนริ โยชิมูระ” เผยพร้อมเดินหน้าพัฒนาองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นนโยบายการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืนของบริษัทแม่ GS YUASA ประเทศญี่ปุ่น เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานด้านความยั่งยืนระดับสากล การันตีความสำเร็จล่าสุดกับรางวัล CSR DIW 5 ปีซ้อน
คุณสึเนะโนริ โยชิมูระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ YUASA เปิดเผยว่า ในปี 2567 แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจรอบด้าน แต่บริษัทยังคงสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยสามารถทำลายสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ทั้งในแง่ของรายได้ และกำไร ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวนี้เป็นผลมาจากการดำเนินงานตามแผน และกลยุทธ์อย่างมุ่งมั่นของคณะผู้บริหารและพนักงานทุกคน
ยิ่งไปกว่านั้นในปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ด้วยการติดตั้งไลน์ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์แบบอัตโนมัติ (Automation Line) ทำให้บริษัทขยายกำลังการผลิตได้มากถึง 4.4 ล้านลูกต่อปี และสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำตลาด OEM ด้วยส่วนแบ่งการตลาดแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยมากถึง 90% โดยบริษัทผลิตให้กับแบรนด์ชั้นนำอย่าง HONDA 60%, YAMAHA 100% และ Kawasaki 60% พร้อมทั้งยังสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยครองส่วนแบ่งได้ 100% ทั้งสองประเทศ
คุณโยชิมูระ กล่าวว่า ปัจจุบันแม้เศรษฐกิจจะยังคงมีความไม่แน่นอน บริษัทจะยังคงมุ่งมั่นต่อยอดความสำเร็จต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งธุรกิจในปี 2568 โดยจะเน้นให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ 3C ซึ่งประกอบด้วย 1.Customer - ยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ 2.Company - ลงทุนในระบบบริหารงานทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันบนฐานข้อมูลเดียวกัน และมีกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน และลงทุนระบบการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM) ที่มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจของลูกค้า ด้วยการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และ 3.Competitor – รักษาความเป็นผู้นำในตลาดด้วยการเน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่าการแข่งขันทางด้านราคา
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่งแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องความยั่งยืน เนื่องจากยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทยเป็นบริษัทหนึ่งภายใต้ บริษัท จีเอส ยัวซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ประเทศญี่ปุ่น (GS YUASA) ที่มีแนวทางด้านความยั่งยืนที่เข้มแข็ง และได้ถ่ายทอดมาสู่บริษัทในเครือ โดยหลักการที่บริษัทยึดถือเป็นหลักปฏิบัติคือ “นวัตกรรมและการเติบโต” กล่าวคือ บริษัทจะเติบโตไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรม ควบคู่กับการดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยนวัตกรรมในที่นี้ ไม่ได้หมายความถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการผสานเทคโนโลยีและบริการที่มีอยู่เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ ที่จะส่งผลดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท
คุณโยชิมูระ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้บริษัทยังคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องภายใต้การปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อลดผลกระทบในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการขององค์กร โดยยึดหลักการบริหารจัดการองค์กรด้าน CSR จากบริษัทแม่ GS YUASA ที่ครอบคลุมทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ 1.การกำกับดูแลองค์กร 2.สิทธิมนุษยชน 3.การปฏิบัติด้านแรงงาน 4.สิ่งแวดล้อม 5.การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม 6.ประเด็นด้านผู้บริโภค และ 7.การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน
ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา บริษัทได้รับรางวัลมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ ประจำปี 2567 หรือ CSR-DIW CONTINUOUS AWARD 2024 ภายใต้โครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน จัดโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยรางวัล CSR-DIW เป็นรางวัลที่บริษัทได้รับมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานของบริษัท ที่คำนึงถึงความยั่งยืนในทุกมิติ ตั้งแต่การปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบของภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม อันเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
“ถือเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่เราได้รับมาจาก GS YUASA ตรงกับหลักเกณฑ์ของ CSR-DIW ทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมได้อย่างดี และส่งผลให้เราได้รับรางวัลนี้มาถึงปีที่ 5 ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทได้วางรากฐานนโยบายด้าน CSR อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว บริษัทแม่ของเราได้สานต่อพันธกิจด้วยการผลักดันนโยบายด้านความยั่งยืน ซึ่งจะครอบคลุมถึงผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับโลก เราตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันไม่ได้ทำแค่สร้างผลกำไร แต่ต้องรับผิดชอบต่อโลกและสังคมโดยรวมด้วย
ในระดับนานาชาติ องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ได้กำหนดหลักการ 10 ข้อ ที่ครอบคลุม 4 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย 1.สิทธิมนุษยชน 2.สิ่งแวดล้อม 3.แรงงาน และ 4.การต่อต้านการทุจริต เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนสำหรับทุกคนทั่วโลก โดย GS Yuasa ประเทศญี่ปุ่นได้ลงนามร่วมกับ UN เพื่อแสดงเจตนารมณ์ว่าทุกบริษัทในเครือจะปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว เพื่อเป็นการขยายขอบเขตความรับผิดชอบของเราจากภายในองค์กรและสังคมโดยรอบไปสู่ระดับโลก นับเป็นอีกเป้าหมายสำคัญในปีนี้ ที่บริษัทจะก้าวไปอีกขั้นในด้านของความยั่งยืน” คุณโยชิมูระกล่าว
คุณโยชิมูระ กล่าวถึงโอกาสและความท้าทายในการดำเนินงานด้วยว่า สิ่งที่เป็นจุดแข็งอันเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย คือประสบการณ์ด้านการผลิตแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่า 62 ปี ประกอบกับชื่อเสียงและการได้รับการยอมรับในตลาดของแบรนด์ Yuasa ซึ่งจุดเด่นทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนี้ ก็มีสิ่งที่ต้องปรับปรุงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะวัฒนธรรมขององค์กรที่ต้องค่อยๆ พัฒนาปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงต้องรักษาบรรยากาศการทำงานที่อบอุ่นและมั่นคง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการลาออกของพนักงานของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ
บริษัทจะเติบโตไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรม ควบคู่กับการดูแลใสใจสิ่งแวดล้อมโดยนวัตกรรมในที่นี้ ไม่ได้หมายความถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการผสานเทคโนโลยีและบริการที่มีอยู่เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ ที่จะส่งผลดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท
ด้วยความที่พนักงานมีความผูกพันกับบริษัทอย่างยาวนานอาจทำให้มุมมองจำกัดอยู่เพียงเรื่องภายในองค์กร บริษัทจึงตั้งใจที่จะเปิดโลกทัศน์ของพวกเขาโดยมุ่งเน้นเรื่องของสังคมและความยั่งยืน เพื่อให้มองเห็นภาพรวมที่กว้างขึ้น สามารถเป็นส่วนหนึ่ง และเดินไปในทิศทางเดียวกันกับบริษัทได้ โดยเราเชื่อว่าการผสานประสบการณ์อันยาวนานเข้ากับการปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรและการเปิดโลกทัศน์ของพนักงานจะนำพาบริษัทไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง
นอกจากนี้ ท่ามกลางกระแสเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ทวีความสำคัญ รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงบทบาทของการส่งเสริมธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีการพิจารณานโยบายลดหย่อนภาษีสำหรับแบตเตอรี่คุณภาพสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งบริษัทมองว่านโยบายนี้จะช่วยส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในด้านการลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งยัวซ่าแบตเตอรี่เรามั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะเป็นแรงผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านโยบายนี้จะยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา แต่ถือเป็นก้าวสำคัญของรัฐบาลในการส่งเสริมความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทหวังว่านโยบายนี้จะได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และผลักดันให้อุตสาหกรรมมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต
“ทั้งนี้ จากผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของบริษัท เป้าหมายต่อไปของเราคือการทำลายสถิติ New High อีกครั้งในปี 2568 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กร เพื่อพัฒนาองค์กรสู่การเป็นผู้นำการผลิตแบตเตอรี่ในด้านเทคโนโลยีที่มีคุณภาพระดับโลก และแน่นอนว่าบริษัทจะต้องเดินหน้าควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน” คุณโยชิมูระกล่าวทิ้งท้าย
กางแผนงาน “นิคมฯ ดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1”
มุ่งพัฒนานิคมฯ ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
นิคมฯ ดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 เดินหน้าแผนวิสาหกิจ กนอ. ปีงบประมาณ 2566-2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ "นำนิคมอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานสากล ด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน" มุ่งมั่นพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ชูโครงการสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชนรอบนิคมฯ ในกลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชน พร้อมตอกย้ำความภาคภูมิใจด้วยผลงานคุณภาพ
คุณธวัชศักดิ์ เกิดมณี ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 กล่าวว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้กำหนดแผนวิสาหกิจสำหรับปีงบประมาณ 2566-2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ "นำนิคมอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานสากล ด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน" โดยทิศทางยุทธศาสตร์สำคัญของ กนอ. ในแผนดังกล่าวประกอบด้วย 1.การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมครบวงจรอย่างยั่งยืน : มุ่งเน้นการเป็นผู้นำในการพัฒนาและให้บริการสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัลที่ครบวงจรตามมาตรฐานสากล
2.การยกระดับความได้เปรียบในการแข่งขันแก่นักลงทุน : พัฒนารูปแบบและคุณภาพการให้บริการเพื่อสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3.การเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม และสิ่งแวดล้อมบนหลักธรรมาภิบาล : ส่งเสริมการเติบโตของนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน ตามมาตรฐานสากล และยึดหลักคุณธรรมและความโปร่งใส
นอกจากนี้ กนอ. ยังมุ่งเน้นการยกระดับการบริหารนิคมอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล โดยเฉพาะการนำระบบอัจฉริยะมาใช้ในนิคมอุตสาหกรรม (Smart Industrial Estate: Smart I.E.) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) อีกทั้ง ยังได้ดำเนินการยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
สำหรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ กนอ. ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับนโยบาย Carbon Neutral เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งวางแผนลดการปล่อยคาร์บอนด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานหมุนเวียน และจัดการของเสียตามหลัก Zero Waste รวมถึง สร้างวัฒนธรรมความยั่งยืนในองค์กร พร้อมส่งเสริมความร่วมมือกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายสอดคล้องกัน ทั้งนี้ การตรวจวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะช่วยปรับปรุงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน
ปัจจุบันนิคมฯ อยู่ระหว่างดำเนินโครงการสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นที่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้เครื่องจักรและนวัตกรรมที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากร อีกทั้ง ยังมีการพัฒนาทักษะและส่งเสริมการเติบโตให้กับชุมชนด้วยโครงการสนับสนุนการผลิตอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจท้องถิ่นสามารถยืนหยัดและเติบโตได้ในสภาวะตลาดที่ท้าทาย ตามกรอบการดำเนินงาน ISO 26000 ในด้านการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน (Community Involvement and Development) มุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน เช่น การสร้างงาน การพัฒนาการศึกษา และการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ กนอ. (สำนักงานนิคมฯ) ทำงานร่วมกับผู้พัฒนานิคมฯ และมีโครงการต่อเนื่องสำคัญๆ ที่ดำเนินเป็นประจำทุกปี คือ การมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนในพื้นที่รอบนิคมฯ ภายใต้ชื่อโครงการมอบทุนการศึกษาเพื่อน้อง (1 โรงเรียน 1 คนเก่ง) ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะมอบทุนในวันเด็กแห่งชาติของทุกปีให้แก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดี/มีพรสวรรค์โดดเด่น แต่เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสและมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงนิคมฯ ตามที่คัดเลือกจากคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน ให้สามารถเข้าถึงการศึกษาจนจบหลักสูตรชั้นสูงสุดของโรงเรียน และยังมีการสนับสนุนด้านการพัฒนายกระดับสุขภาพของชุมชน ทั้งกิจกรรมบริการด้านสุขภาพและอุปกรณ์การแพทย์ภายในหน่วยงาน รพ.สต. เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ทัศนคติที่ดี และสามารถอยู่ร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน
ขณะเดียวกัน หนึ่งในความสำเร็จที่สำนักงานนิคมฯ ภาคภูมิใจ คือ การพัฒนาและขยายตลาดสินค้าจากชุมชนท้องถิ่น โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่สำนักงานนิคมฯ และมีส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น ผลงานนี้ไม่เพียงแต่เสริมสร้างเศรษฐกิจไทย แต่ยังสร้างความยั่งยืนในระยะยาวให้กับชุมชนอีกด้วย
โดยปัจจุบันมีกลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชนภายใต้การดูแลและบริหารจัดการสนับสนุนของสำนักงานนิคมฯ จำนวน 4 กลุ่ม ที่ประกอบธุรกิจแตกต่างกัน มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย อาทิ กุนเชียง ไข่เค็ม ขนมเปี๊ยะ คุกกี้สัปปะรด ขนมไทย ผลิตภัณฑ์จักสานทำมือ พวงหรีด ดอกไม้จันทน์ สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปอีกมากมาย ซึ่งในแต่ละปีสำนักงานนิคมฯ จะมีงบประมาณสนับสนุนการฝึกอบรมด้านต่างๆ รวมถึง การจัดทำ Workshop ปรึกษากับผู้เชียวชาญ และการพัฒนาทักษะอาชีพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งการต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมและการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึง การทำวิจัยและพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีความรู้ในการพัฒนาทักษะฝีมือ/ผลิตภัณฑ์ของชุมชน และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ และเพื่อยกระดับการสร้างอาชีพของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้ชุมชน/กลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชนสามารถใช้เครื่องจักรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการลดต้นทุนการผลิตและใช้เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถเติบโตได้ และสนับสนุนให้ชุมชนมีความรู้ด้านการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ยกระดับศักยภาพการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน
ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากการสนับสนุนในด้านการฝึกอบรมแล้ว สำนักงานนิคมฯ ยังมีการจัดกิจกรรม ECO GREEN NETWORK ที่เป็นการสานสัมพันธ์ สมาชิกเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยหน่วยราชการ/ส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานนิคมฯ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจแนวคิดของหลักการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ระหว่างกัน และสามารถพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมถึง อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ยั่งยืนต่อไป
พร้อมทั้ง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยราชการ/ส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ชุมชนโดยรอบนิคมฯ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานนิคมฯ และผู้พัฒนานิคมฯ ทำให้เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง และเกิดความมั่นใจในการบริหารจัดการของนิคมฯ ในระยะยาว โดยลักษณะกิจกรรมจะมุ่งเน้นพาเครือข่ายไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการนิคมฯ และการดำเนินงานด้านวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ผู้นำของทุกภาคส่วนในนำมาปรับใช้ต่อยอดเกิดการบูรณาการ โดยได้รับผลตอบรับที่ดีมาโดยตลอด
คุณธวัชศักดิ์กล่าวถึงข้อเสนอแนะที่อยากให้ภาครัฐเข้าส่งเสริมหรือสนับสนุนเป็นพิเศษว่า ในด้านส่งเสริมการเติบโตและยกระดับรายได้ของชุมชน ขอแบ่งเป็นมิติต่างๆ ดังนี้ 1.การสนับสนุนในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ : ภาครัฐสามารถสนับสนุนโครงการที่ชุมชนมีแนวโน้มที่จะสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ที่มีศักยภาพทางการตลาดและการขายทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ 2.การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ : สนับสนุนให้ชุมชนใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุนการผลิต 3.การสนับสนุนในการพัฒนาทักษะและการฝึกอบรม : ส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะให้กับชุมชน เช่น การสอนเทคนิคการผลิตที่ยั่งยืนและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4.การสนับสนุนในการตลาดและการโปรโมท : ช่วยให้ชุมชนมีเครื่องมือในการตลาดและโปรโมทผลิตภัณฑ์ของพวกเขา รวมถึง การสนับสนุนในการสร้างแบรนด์และการตลาดออนไลน์ 5.การสนับสนุนในการทดลองผลิตภัณฑ์ : สนับสนุนให้ชุมชนมีพื้นที่ทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่ และ 6.การสนับสนุนในการทดสอบคุณภาพและมาตรฐาน : ช่วยให้ชุมชนทดสอบและปรับปรุงคุณภาพสินค้าเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น
“เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน เราจำเป็นต้องพัฒนาในทุกมิติทั้งด้านนวัตกรรม ความยั่งยืน และการสร้างความร่วมมือกับชุมชนโดยรอบ การเพิ่มขีดความสามารถของแรงงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่เพียงช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับนิคมฯ แต่ยังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระดับสากล หากเรามีการปรับตัวตามความต้องการของตลาดโลกและมุ่งเน้นการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการวิจัย ข้อเสนอนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตอย่างมีคุณภาพและความยั่งยืนในระยะยาวของประเทศเรา” คุณธวัชศักดิ์กล่าว
ไรซ์ ซัพพลายรุกธุรกิจบริการเต็มร้อย ปักหมุดรายได้แตะ 100 ลบ.
ไรซ์ ซัพพลายเผยแผนการดำเนินงานปี 68 ชู 2 เป้าหมายหลัก เติมศูนย์บริการเพิ่ม 5 สาขา หนุนต่อยอดธุรกิจ-รองรับทุกโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างมีศักยภาพ พร้อมเข้าสู่วงการขายสินค้าเต็มรูปแบบ ตั้งเป้ารายได้พุ่งทะยานสู่ 100 ลบ. มั่นใจตัวเลขตามคาด รับการโตสวนกระแส ตอกย้ำจุดเด่นที่ครองใจลูกค้ามาอย่างยาวนาน ด้วยงานซ่อมที่ได้มาตรฐาน-การให้บริการ 24 ชม.-ทีมช่างที่มีประสิทธิภาพ
“อาร์เอส” กางแผนงานปี 67 เดินหน้าต่อยอดธุรกิจเต็มร้อย
อาร์เอสเผยแผนการดำเนินงานปี 2567 มุ่งต่อยอดภาพรวมธุรกิจ 3 ด้านหลัก เพิ่มการออกแบบ และติดตั้ง มุ่งสู่การเป็น One Stop Service, เพิ่มศักยภาพสินค้า สต็อกในไทย และสร้างแบรนด์ RS Pro ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการสินค้าคุณภาพ ในราคาย่อมเยา บวกตั้งเป้าการเติบโตปีนี้ที่ 2 Digit พร้อมชูจุดเด่นทักษะของพนักงานที่พร้อมตอบโจทย์ความหลากหลายของลูกค้า บวกตอกย้ำผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซที่อยู่ในตลาดมาเป็นเวลานานถึง 19 ปี การันตีความไว้วางใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย มั่นใจอนาคตสดใสของธุรกิจขนส่ง
พร้อมแนะผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แม่ทัพใหญ่สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย (TTLA) “ดร.ปิยะนุช สัมฤทธิ์” เดินหน้าลุยงานที่เหลืออย่างเต็มที่ก่อนสิ้นสุดวาระการเป็นนายกสมาคมฯ ในสิ้นปีนี้ เผยการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นไปตามกรอบวิสัยทัศน์และพันธะกิจที่วางไว้ อนาคตอยากเห็นทิศทางขององค์กรวิชาชีพนี้มีความสำคัญ สร้างคุณค่าต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและประเทศชาติ
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านมุ่งมั่นก้าวต่อ ลุยสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA) เผยครึ่งปีแรกธุรกิจรับสร้างบ้านชะลอตัว ช่วงที่เหลือของปีสมาคมฯ เร่งทำตลาดต่อเนื่อง พร้อมเน้นย้ำครึ่งปีหลังเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ขณะที่ทิศทางการดำเนินงานปี 2568 จะเน้นต่อยอด พัฒนา สร้างมาตรฐานงานสร้างบ้านหนุนศักยภาพสมาชิก สร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ “HBA Sustainable Model” เพื่อยกระดับตลาดรับสร้างบ้านในภาพรวม ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรในสายวิชาชีพ ด้วยเป้าหมายการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับธุรกิจ
กางแผนธุรกิจ “กรไทย” ปักธงยอดขาย 4,000 ลบ.
กรไทย บริษัทชั้นนำของประเทศ โดยมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารที่เป็นผงด้วยเครื่อง Spay Dryer เผยแผนการดำเนินงานครึ่งปีหลัง เล็งหาฐานลูกค้าใหม่ๆ ควบคู่กับการขยายฐานลูกค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เดินหน้าเปิดสายการผลิตใหม่ “Spay Dryer” กำลังการผลิต 3,000 ตันต่อเดือน รองรับความต้องการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต หนุนเป้ายอดขายรวมปีนี้ทะยานแตะ 4,000 ลบ. พร้อมตอกย้ำความแข็งแกร่งองค์กร 42 ปีแห่งความสำเร็จ ชูเอกลักษณ์ความเป็นไทยอย่างชัดเจน
เปิดแผนธุรกิจครึ่งปีหลัง “ดูโฮม” ย้ำจุดยืน ครบถ้วน หลากหลาย คุณภาพดี ราคาถูก
ดูโฮมวางแผนการดำเนินงานครึ่งปีหลัง โฟกัสบนพื้นฐานหลัก ครบถ้วน หลากหลาย คุณภาพดี ราคาถูก บวกมุ่งเน้นการบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มเติม ทั้งสโตร์ใหญ่-สโตร์เล็ก-ออนไลน์ ชูความเป็น Local ตอกย้ำจุดยืนในการทำธุรกิจด้วยความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง การันตีผลงานคุณภาพด้วยรางวัลเกียรติยศ และประสบการณ์กว่า 4 ทศวรรษในตลาดวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน
AEG คงการเป็นผู้นำด้าน SECURITY & INSURANCE เผยความน่าเชื่อถือและความแม่นยำเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ
AEG ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยและการประกันภัยครบในที่เดียว ผู้เชี่ยวชาญในวงการธุรกิจสินค้ามูลค่าสูงมากว่า 40 ปี เผยทิศทางธุรกิจลุยขยาย 16 สาขาในไทย เตรียมเดินหน้าทำ R&D สินค้าและบริการใหม่ๆ รองรับการบริการด้านความปลอดภัยที่ตอบโจทย์และครอบคลุม พร้อมชูแนวทางการบริหารองค์กรด้วยแนวคิด “EASE” เน้นสร้างความสบายใจทั้งลูกค้าและคนในองค์กร
เปิดวิสัยทัศน์ประธาน ส.อ.ท. เดินหน้าลุยภารกิจวาระสองเต็มร้อย
ประธาน ส.อ.ท. ประกาศขับเคลื่อนภารกิจวาระสอง มุ่งสู่อุตฯ แห่งอนาคต (Next-GEN Industries ) บวกยกระดับ SMEs สู่ Smart SMEs ด้วยนโยบาย 3+1 GO หนุนก้าวพ้นปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ ประเมินภาพรวมอุตฯ ไทยปี 67 โตเพิ่ม 10% จากปีก่อนหน้า พร้อมเปิดโผอุตฯ ดาวเด่น “ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ” ครองอันดับหนึ่ง ตามติดด้วย “อุตฯ เครื่องปรับอากาศ และอุตฯ ท่องเที่ยว”
กิฟต์แมนูแฟคตอรี่ อ้าแขนรับการเติบโตต่อเนื่อง มั่นใจธุรกิจสดใส ไม่มี Downtrend
กิฟต์แมนูแฟคตอรี่ ผู้นำธุรกิจจัดจำหน่ายของพรีเมี่ยมสำหรับลูกค้าองค์กร เผยทิศทางการดำเนินธุรกิจมุ่งขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่ม พร้อมชู 4 Core Value สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจ Branding, Design, Quality และ Service ปีนี้ลุยดันของพรีเมี่ยมรักษ์โลกตอบโจทย์เทรนด์ ESG พร้อมสนองความต้องการลูกค้าอย่างแท้จริง เชื่อ! ด้วยคุณภาพที่ดี ดีไซน์ที่สวยงาม ทันสมัย รักษ์โลก และใช้งานได้จริง จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้รับและส่งเสริมการรับรู้แบรนด์ของลูกค้าอย่างมีอิมแพคและยั่งยืน
เวิลด์เพ้นท์ เคลื่อนทัพธุรกิจเน้นตลาดออนไลน์ ขยายการส่งออก พร้อมเจาะกลุ่มผู้อาศัยเพิ่มขึ้น
เวิลด์เพ้นท์ ผู้ผลิตสินค้าสีทาบ้านคุณภาพสูง เผยกลยุทธ์สร้างการเติบโตธุรกิจ เดินหน้าเน้นการทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง มุ่งพัฒนาโปรดักส์ด้วยนวัตกรรมและกรีน ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่เป็นเจ้าของบ้าน ผู้อาศัย และคนรุ่นใหม่ พร้อมเตรียมลุยส่งออก CLMV โดยเฉพาะเวียดนาม คาดปี 2567 ยอดขายโต 15-20% มั่นใจอุตสาหกรรมก่อสร้างยังเติบโตได้ต่อเนื่อง